การสักการบูชาและกรรมในพระพุทธศาสนา คัมภีร์ปฏิรูปมนุษย์ หน้า 35
หน้าที่ 35 / 397

สรุปเนื้อหา

บทนี้นำเสนอความสำคัญของการสักการบูชาเพื่อยกย่องบุคคลที่ทำความดี และการพัฒนาจิตใจให้เห็นคุณค่าและความสำคัญของศีลธรรม เพื่อช่วยให้ดำรงชีวิตอย่างมีจริยธรรม การสักการบูชายังช่วยในด้านการพัฒนาสังคม แสดงออกถึงกตัญญูกตเวทิตา และการส่งเสริมจิตใจในการสนับสนุนผู้ทำดี ความเข้าใจในธรรมะที่ลึกซึ้งจะพาให้เกิดปัญญาและสัมมาทิฏฐิในระดับสูง และสามารถเข้าใจการกระทำทั้งกรรมดีกรรมชั่วได้อย่างชัดเจน

หัวข้อประเด็น

-การสักการบูชา
-กรรมดีและกรรมชั่ว
-ศีลธรรมในพระพุทธศาสนา
-การพัฒนาจิตใจ
-การประกาศคุณความดี

ข้อความต้นฉบับในหน้า

บทที่ ๑ ๔) จึงนำสิ่งของที่ควรไปสักการบูชาสมณพราหมณ์ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบซึ่งกำลังมุ่งมั่นพัฒนาผู้คนในสังคม เป็นการประกาศคุณความดี ของท่านให้ชาวโลกรู้ เป็นการแสดงกตัญญูกตเวทิตาต่อท่าน รวมทั้ง เป็นการสงเคราะห์ท่านด้วยปัจจัยต่างๆ ที่จะอำนวยความสะดวกในงาน พัฒนาสังคมของท่าน ตลอดจนเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ท่านมีกำลังใจ ปฏิบัติภารกิจเกี่ยวกับการพัฒนาสังคมต่อไปอีก เสมอๆ จะ อย่างไรก็ตาม วัตถุประสงค์สำคัญที่สุดของการสักการบูชา ก็คือ เพื่อ ยกย่องสรรเสริญ บูชา และประกาศคุณงามความดีบุคคลที่ควรแก่การบูชา ไม่ได้มุ่งที่การกำจัดความขาดแคลน การปฏิบัติเช่นนี้ สามารถกำจัดนิสัยจับผิดผู้อื่น อิจฉาผู้อื่น พร้อมกันนั้นก็เพาะนิสัยให้ รู้จักยกย่องบุคคล เชิดชู ประกาศเกียรติคุณ คนดีมีศีลธรรม คนที่ดีกว่าตน บุคคลที่มีความคิดและนิสัยเช่นนี้ ย่อมแสดงว่าเขาสามารถ ตรองด้วย เหตุผลจนเห็นคุณค่าและความจำเป็นของศีลธรรม ที่บุคคลทุกคนจึงต้อง มี หรือพัฒนาให้เกิดขึ้นในจิตใจให้ได้ อนึ่ง ความเข้าใจถูกในระดับนี้ ย่อมพัฒนาความสว่างเพิ่มขึ้น ในจิตใจของเขาต่อไปอีก ซึ่งจะเป็นบาทฐานให้สามารถเกิดปัญญาเข้าใจ สัมมาทิฏฐิในระดับสูงต่อไปได้โดยง่าย สัมมาทิฏฐิระดับที่ ๔ ผลวิบากของกรรมดีกรรมชั่วที่ทำมีอยู่ ว่า “กรรม” ในพระพุทธศาสนา แปลว่า “การกระทำ” คำ กรรมดี หมายถึง การกระทำทั้งทางกาย วาจา และใจที่ดีงาม ไม่ ผิดศีลธรรม กรรมชั่ว หมายถึง การกระทำทั้งทางกาย วาจา และใจที่ชั่วช้า เลวทราม ผิดศีลธรรม
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More