บทที่ ๖: ทิศเบื้องล่าง คัมภีร์ปฏิรูปมนุษย์ หน้า 167
หน้าที่ 167 / 397

สรุปเนื้อหา

บทนี้กล่าวถึงทิศเบื้องล่างที่หมายถึงความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง โดยมีการกำหนดความรับผิดชอบของนายจ้างที่ควรปฏิบัติต่อลูกน้องอย่างเหมาะสม ได้แก่ การจัดการงานที่เหมาะสม การจ่ายค่าจ้างที่เป็นธรรม การเลี้ยงดูและสนับสนุนในยามเจ็บป่วย การแสดงความเป็นมิตรและการดูแลให้นายจ้างทำหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพตามหลักอริยวินัย ซึ่งจะส่งผลให้ลูกน้องทำงานได้เต็มที่และสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในองค์กร. สามารถดูเพิ่มเติมได้ที่ dmc.tv

หัวข้อประเด็น

-หน้าที่นายจ้าง
-ความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง
-การจัดการงานที่เหมาะสม
-การจ่ายค่าจ้างและโบนัส
-การดูแลในยามเจ็บป่วย

ข้อความต้นฉบับในหน้า

บทที่ ๖ ๕. ทิศเบื้องล่าง เพื่อนร่วมกระบอกจอกจาน (อาจจะเป็นมิตรเทียมหรือมิตรแท้ ก็ได้) กลุ่มที่ ๕ มีความสัมพันธ์กับเราในฐานะผู้ช่วยงานและการประกอบ อาชีพของเรา สมมุติชื่อว่า ทิศเบื้องล่าง เพราะเป็นผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา หรือลูกจ้างของเรา หน้าที่รับผิดชอบของนายจ้าง พระพุทธองค์ทรงกำาหนดเป็นอริยวินัย หรือหน้าที่ของหัวหน้า ต้องปฏิบัติ เพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อลูกน้องไว้เป็นตัวอย่างให้ดู ๕ ๑๕๓ ประการ คือ ๑. สามารถจัดการงานให้สมควรแก่กำลัง คือให้เหมาะสมกับ กำลังตามวัยและเพศ ตลอดจนความถนัดและความสามารถ เพื่อให้การ ปฏิบัติงานมีประสิทธิผล ๒. ให้อาหารและรางวัล คือให้ค่าจ้างแรงงานพอเหมาะพอสม ถูกต้องตามกฎหมายแรงงาน มีการขึ้นเงินเดือนและจ่ายโบนัส สำหรับ ลูกจ้างที่อยู่ในชายคาเดียวกัน ก็จัดอาหาร ให้ตามความเหมาะสม ไม่ให้ อดอยาก นายจ้างที่ละอคติได้ ละกรรมกิเลสได้ จึงมีพฤติกรรมดังกล่าว คือเลี้ยงลูกจ้างเหมือนลูกตนเอง ๓. ดูแลรักษายามเจ็บป่วย หมายถึงอนุญาตให้ลาพักงานได้ และให้ความสนใจ ถามข่าวคราวความเจ็บไข้ของลูกน้อง และให้ความ ช่วยเหลือ แสดงถึงความเป็นมิตรแท้ของตัวหัวหน้านั้น
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More