การบริหารทรัพย์สมบัติตามหลักเศรษฐศาสตร์เชิงพุทธ คัมภีร์ปฏิรูปมนุษย์ หน้า 163
หน้าที่ 163 / 397

สรุปเนื้อหา

บทที่ ๖ เน้นถึงการบริหารทรัพย์สมบัติตามหลักเศรษฐศาสตร์เชิงพุทธ โดยพิจารณาคุณสมบัติที่สำคัญของภรรยา ได้แก่ ความขยัน ความอดทน และการปฏิบัติตนที่ดี โดยมีการอบรมจากบิดามารดาและครูบาอาจารย์ ความรับผิดชอบในการทำหน้าที่ทั้ง ๕ ประการจะส่งผลต่อความก้าวหน้าของครอบครัว หากสามีภรรยามีการปฏิบัติที่ถูกต้องจะทำให้ครอบครัวเจริญรุ่งเรือง สังคมจะได้รับอานิสงส์ที่ดี ในขณะเดียวกันหากมีการปฏิบัติผิด อาจนำไปสู่ปัญหาภายในครอบครัวและสังคมโดยรวมได้

หัวข้อประเด็น

- บทบาทของภรรยา
- คุณสมบัติที่สำคัญ
- ผลกระทบต่อครอบครัว
- อริยวินัยในการใช้ทรัพย์
- การส่งเสริมความกลมเกลียวในครอบครัว

ข้อความต้นฉบับในหน้า

บทที่ ๖ ในเรื่องการบริหารทรัพย์สมบัติตามหลักเศรษฐศาสตร์เชิงพุทธเป็นอย่างดี " ๕. ขยันไม่เกียจคร้านในกิจทั้งปวง คุณสมบัติที่สำคัญของภรรยา ในข้อนี้คือ ละอบายมุขได้เด็ดขาด และมีขันติ ความอดทนเป็นเลิศ ภรรยาที่มีความรับผิดชอบสามารถปฏิบัติหน้าที่ทั้ง ๕ ประการ ได้สมบูรณ์ ก็เพราะได้รับการปลูกฝังอบรมจากมารดาบิดา ตลอดจน ครูบาอาจารย์ทั้งทางโลกและทางธรรมให้เป็นคนดีมาตั้งแต่ก่อนแต่งงาน หญิงใดที่สามารถปฏิบัติตนดี มีอริยวินัยครบทั้ง ๕ ประการ ได้ ชื่อว่าเป็น ผู้ปิดป้องทิศเบื้องหลังดีแล้ว ข้อสังเกต การปฏิบัติตนของสามีและภรรยาที่มีผลต่อครอบครัวและสังคม สามี ภรรยา ៤៩ ผลที่เกิดขึ้น ปฏิบัติผิด ปฏิบัติถูก สามีนั้นไม่สมควรแก่ภรรยา ครอบครัวมีปัญหาอย่างแน่นอน ปฏิบัติถูก ปฏิบัติผิด ภรรยานั้นไม่สมควรแก่สามี ครอบครัวมีปัญหาอย่างแน่นอน ปฏิบัติผิด ปฏิบัติผิด ครอบครัวล่มสลาย จะมีผลไปถึงสังคมโดยรวมด้วย ปฏิบัติถูก ปฏิบัติถูก ครอบครัวจะเจริญก้าวหน้า สังคมได้รับอานิสงส์ด้วย ดูเรื่องอริยวินัยในการใช้ทรัพย์ ในบทที่ ๕
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More