ข้อความต้นฉบับในหน้า
คัมภีร์ปฏิรูปมนุษย์
2 2
คนน่ารัก น่าคบหาสมาคม และตนเองก็มีความสุข ส่วนคนที่ใจคิดร้าย การพูด
การกระทำย่อมมีแต่ร้ายๆ ทั้งสิ้น จึงเป็นคนน่ารังเกียจ ไม่น่าเข้าใกล้ ไม่
น่าคบหาสมาคม ตัวเองก็ขาดความสุข แม้จะพยายามปกปิดความทุกข์ไว้
ในใจ ไม่แสดงออกมาให้ผู้อื่นเห็น แต่ตนเองย่อมรู้ดีว่ามีความทุกข์สุมอยู่
ในใจ โดยเหตุนี้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงตรัสแสดงว่า
“ธรรมทั้งหลายมีใจเป็นหัวหน้า มีใจเป็นใหญ่ สําเร็จด้วยใจ
ถ้าบุคคลมีใจร้ายแล้ว พูดอยู่ก็ดี ทำอยู่ก็ดี ทุกข์ย่อมไปตามเขาเพราะเหตุนั้น
ดุจล้อหมุนไปตามรอยเท้าโค ผู้นำแอกไปอยู่ฉะนั้น
...ถ้าบุคคลมีใจผ่องใสแล้ว พูดอยู่ก็ดี ทำอยู่ก็ดี ความสุข
ย่อมไปตามเขาเพราะเหตุนั้น เหมือนเงาไปตามตัวฉะนั้น”
จากพุทธภาษิตนี้ย่อมเห็นได้ว่า ใจคนเราโดยทั่วไปมีอยู่
๒
ลักษณะเท่านั้น คือ ใจร้ายกับใจผ่องใส คนใจร้ายก็คือ คนที่มีใจหยาบ
คนที่มีใจละเอียด
คนใจผ่องใสก็คือ คนที่มี
เหตุใดคนจึงมีใจหยาบ?
มีสาเหตุมากมายที่ทําให้คนใจหยาบ มีทั้งเหตุภายนอกและเหตุ
ภายใน สาเหตุ ภายนอกก็คือ สิ่งแวดล้อมทั้งที่เป็นธรรมชาติและเป็นคน
รวมทั้งกิจการงานอาชีพของตน สาเหตุภายในก็คือ ทรรศนะความคิดเห็น
ของตนเองหรือที่เรียกว่า มิจฉาทิฏฐิ อาจจะพูดให้เข้าใจง่ายๆ ว่า ใจหยาบ
เพราะถูกกิเลส คือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง ห่อหุ้ม ปกคลุมไว้
ใจหยาบมีลักษณะอย่างไร?
เพราะเหตุที่ใจถูกกิเลสห่อหุ้มปกคลุมเอาไว้ ใจนั้นจึงอยู่ใน
ขอบเขตจำกัด เหมือนคนที่ถูกขังอยู่ในห้องมืดหรือในลิฟท์มืดๆ คนที่
ยมกวรรควรรณนา ขุ.ธ.มก. ๔๐/๑๑/๑