บทที่ ๘: การปฏิบัติบุญกิริยาวัตถุ ๓ คัมภีร์ปฏิรูปมนุษย์ หน้า 297
หน้าที่ 297 / 397

สรุปเนื้อหา

บทที่ ๘ กล่าวถึงพระธรรมคำสั่งสอนที่มีจำนวนมาก ซึ่งสามารถสรุปให้กับฆราวาส โดยเน้นที่การปฏิบัติบุญกิริยาวัตถุ ๓ ได้แก่ ทาน ศีล และภาวนา การทำกิจกรรมเหล่านี้ในชีวิตประจำวันช่วยเสริมสร้างความรู้และความเข้าใจในพระพุทธศาสนาให้มั่นคงอยู่ในจิตใจ หากสมาชิกในครอบครัวขาดความรู้ด้านพระธรรมวินัย อาจทำให้ไม่เกิดปัญญา สะท้อนให้เห็นว่าครอบครัวที่เปิดบ้านกัลยาณมิตรจะต้องฝึกอบรมและส่งเสริมให้รุ่นลูกได้สืบทอดหลักธรรมมาสู่รุ่นหลานด้านความดี ยกตัวอย่างจากวิถีชีวิตไทยในอดีตที่เชื่อมโยงกับวัดและพระพุทธศาสนา

หัวข้อประเด็น

- พระธรรมคำสั่งสอน
- บุญกิริยาวัตถุ ๓
- การปฏิบัติในชีวิตประจำวัน
- บ้านกัลยาณมิตร
- คตินิยมในครอบครัว
- ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

บทที่ ๘ ๔. พระธรรมคำสั่งสอนจำนวนมากมายถึง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ เมื่อรวมสรุปลงเป็นภาคปฏิบัติในชีวิตประจำวัน สำหรับฆราวาสแล้วก็จะมี เพียง ๓ เรื่อง คือ ทาน ศีล และภาวนา ซึ่ง ซึ่งมีคำศัพท์เรียกโดยเฉพาะว่า “บุญกิริยาวัตถุ ๓” การปฏิบัติบุญกิริยาวัตถุ ๓ เป็นประจำวัน จะ สามารถตอกย้ำความรู้ความเข้าใจในพระพุทธศาสนา ให้มั่นคงอยู่ในจิตใจ พุทธศาสนิกยิ่งๆ ขึ้นไป แต่ถ้าบ้านกัลยาณมิตรเพียงแต่ชักนำส่งเสริมให้ สมาชิกในครอบครัว ปฏิบัติบุญกิริยาวัตถุ ๓ โดยไม่มีการให้ความรู้ด้าน พระธรรมวินัยเท่าที่ควร สมาชิกก็อาจจะยังไม่เกิดปัญญาสามารถนำความ รู้และประสบการณ์จากการปฏิบัติกิจกรรม มาปรับใช้ในชีวิตจริงได้ ถ้า เป็นเช่นนั้น โครงการบ้านกัลยาณมิตรก็ยากที่จะประสบความสำเร็จ ๑๐. ครอบครัวที่ประสบความสำเร็จ ในการเปิดบ้านกัลยาณมิตร ที่ทายาทสืบสกุลเป็นคนดีที่โลกต้องการ มีลักษณะกัลยาณมิตรอย่างครบ ถ้วน ประสบความสำเร็จในการประกอบอาชีพการงาน แต่ถ้าทายาท เหล่านั้นเมื่อแต่งงานมีครอบครัวไปแล้ว ไม่เปิดบ้านกัลยาณมิตร เพราะมี ความคิดว่าการฝึกอบรมให้ลูกๆ ของตนเป็นคนดี ไม่ใช่เรื่องยากเย็น อะไร เพราะตนเองซึ่งเป็นพ่อแม่เป็นคนดีอยู่แล้ว หรือจะเป็นเพราะมีเหตุ ผลอื่นใดก็ตาม วงจรกัลยาณมิตรของตระกูลก็อาจจะจบอยู่ที่รุ่นลูกของตน ไม่มีสืบต่อไปถึงรุ่นหลาน เข้าทำนองตระกูลเศรษฐีตั้งอยู่ไม่นาน อาจจะ ล่มสลายลงแค่เพียงสองสามชั่วคนเท่านั้น แท้ที่จริง คตินิยม ในเรื่องกิจกรรมบ้านกัลยาณมิตรนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ เคยมีมาแล้วแต่ครั้งบรรพบุรุษไทยสมัยโบราณกาล เพราะวิถีชีวิตไทย ผูกพันอยู่กับวัดและพระพุทธศาสนา ผู้คนต่างทำกิจกรรมเกี่ยวกับธรรมะ ทั้งที่บ้านและที่วัดเป็นประจำ ดังจะเห็นจากเรื่องราวและร่องรอยใน ๒๘๓
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More