บทที่ ๓: โทษของมิตรชั่วและความเกียจคร้าน คัมภีร์ปฏิรูปมนุษย์ หน้า 105
หน้าที่ 105 / 397

สรุปเนื้อหา

บทนี้กล่าวถึงโทษของการคบกับมิตรชั่วซึ่งจะทำให้เราเสื่อมเสีย และไม่มีประโยชน์ใดๆ รวมถึงการเตือนใจถึงการคบคนดีที่นำไปสู่ผลดี การวิเคราะห์ความเกียจคร้านในสังคม พร้อมรำลึกถึงความสำคัญของการทำงานและการช่วยเหลือผู้อื่นโดยการทำดี สำหรับอนาคตที่ดีกว่า ดังนั้นต้องใช้ชีวิตให้มีประโยชน์และตั้งใจทำงานในทุกด้าน

หัวข้อประเด็น

-โทษของมิตรชั่ว
-ความสำคัญของการคบคนดี
-โทษของความเกียจคร้าน
-การทำงานและการช่วยเหลือผู้อื่น
-แบบแผนชีวิตที่มีคุณค่า

ข้อความต้นฉบับในหน้า

บทที่ ๓ ๕) ชักนำให้เป็นคนโกงเขาซึ่งหน้า ๖) ชักนำให้เป็นนักเลงหัวไม้ จากโทษทั้ง 5 ประการ ที่พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ ย่อม เห็นได้ชัดเจนว่า การคบมิตรชั่วจะทำให้เราเสียผู้เสียคนโดยฝ่ายเดียว ไม่มีทางที่จะได้รับประโยชน์อันใดจากมิตรชั่วเลย ดังนั้น การคบคนหรือคบเพื่อนฝูงจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง จำเป็นต้องพิจารณา ไตร่ตรองให้รอบคอบ และยึดภาษิตเตือนใจว่า “คบ พาล พาลพาไปหาผิด คบบัณฑิต บัณฑิตพาไปหาผล” ไว้เสมอ ๖. โทษของความเกียจคร้าน คนเกียจคร้านในโลกนี้อาจแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้ ๒ กลุ่ม คือ กลุ่มที่เกียจคร้านโดยขันธสันดาน กับกลุ่มที่เกียจคร้านอันเนื่องมา จากอบายมุขทั้ง ๕ ประการ ข้างต้น การทำงานประกอบอาชีพเป็นหน้าที่ของทุกคน เพราะทุกคน มีชีวิตอยู่ได้ด้วยปัจจัย ๔ การทำงานประกอบอาชีพ ก็เพื่อหาทรัพย์สินมา เป็นเครื่องแลกเปลี่ยนปัจจัย ๔ รวมทั้งเพื่อสงเคราะห์ญาติมิตร ตลอด จนเพื่อการบริจาคเป็นทานกุศล สั่งสมไว้ในภพชาติเบื้องหน้าต่อไป คนที่เกียจคร้าน ไม่ยอมทำงาน หรือทำงานคั่งค้าง ไม่ตั้งใจทำ มาหากิน ปล่อยเวลาให้ล่วงไป ๆ ถือว่าเป็นคนที่ตายแล้วทางด้านความคิด และความดี คนบางคนเกียจคร้านในการทำงาน ทั้งๆ ที่ยากจน จึงต้อง หาวิธีเอาตัวรอดด้วยการทำตัวเป็นกาฝากอาศัยคนอื่นบ้าง ทำลายสิ่ง ៩១
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More