เลว ๑๖ ประการ: การตรวจสอบมิตรแท้และมิตรเทียม คัมภีร์ปฏิรูปมนุษย์ หน้า 145
หน้าที่ 145 / 397

สรุปเนื้อหา

บทที่ ๕ กล่าวถึงพฤติกรรมของมิตรแท้และมิตรเทียม โดยแบ่งออกเป็น ๑๖ ประการ เพื่อใช้ตรวจสอบความดีและความเลวในบุคคล พุทธวจนชี้ให้เห็นว่าทุกคนมีทั้งลักษณะดีและเลว เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาลักษณะนิสัยของคนดีในสังคม ผ่านการรักษาและถ่ายทอดความดี และป้องกันให้ความชั่วไม่แพร่กระจาย ความเข้าใจในเรื่องนี้ช่วยให้สามารถคบหามิตรได้อย่างมีวินัยและสร้างสรรค์ในชีวิต.

หัวข้อประเด็น

-มิตรแท้กับมิตรเทียม
-มาตรฐานการตรวจสอบพฤติกรรม
-การพัฒนาลักษณะนิสัย
-การรักษาความดีในกลุ่มสัมพันธ์
-การป้องกันความชั่ว

ข้อความต้นฉบับในหน้า

บทที่ ๕ เลว ๑๖ ประการ มิตรแท้ก็มีพฤติกรรมดี หรือมีวินัยในการคบมิตรเป็น อย่างดี ๑๖ ประการ พฤติกรรมฝ่ายละ ๑๖ ประการนี้ จึงเปรียบเสมือน เครื่องมือตรวจสอบ หรืออาจเรียกว่า “ตะแกรงกายสิทธิ์” สำหรับร่อนหา คนเลว หรือคนดี ๓. แหล่งของมิตรเทียม - มิตรแท้ พึงระลึกไว้เสมอว่า ไม่มี ใครในโลกนี้ที่จะเป็นคนเลวครบขั้น หรือดีครบเครื่อง ๑๖ ประการ ดัง กล่าวแล้ว แต่ทว่าปุถุชนทุกๆ คนจะมีลักษณะนิสัยและพฤติกรรมทั้งเลว และดีปนกันอยู่ในตัว การที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงชี้พฤติกรรมของคน โดยแบ่งออกเป็นมิตรเทียมกับมิตรแท้ ก็เพื่อให้ยึดไว้เป็นมาตรฐาน เพื่อ สะดวกและง่ายสำหรับใช้ตรวจสอบ หรือค้นหาคนเลว-คนดี ๔. หลักในการพัฒนาลักษณะนิสัยของคนดี ด้วยการใช้ “ตะแกรงกายสิทธิ์” เป็นเครื่องมือตรวจสอบ เราย่อมพบว่า ตัวเราเอง ผู้ ใกล้ชิดเรา ญาติพี่น้องเพื่อนพ้อง ตลอดจนคนที่เราติดต่อคบหาสมาคมด้วย ซึ่งรวมเรียกว่าทิศ 5 มีข้อดี ข้อเสียอะไรบ้าง เมื่อพบแล้ว พึงปฏิบัติดังนี้ คือ คอ ๑) รักษาและถ่ายทอดความดีให้แก่กันและกัน เก็บรักษาความดีทั้งหมดของทุกฝ่ายเอาไว้ ไม่ให้ขาดตก บกพร่อง แล้ว ถ่ายทอดให้กันและกัน ๒) กันไม่ให้ความชั่วแพร่กระจายออกไปสู่กันและกัน คือ ป้องกันหรือควบคุมความชั่วที่มีอยู่ให้มิดชิด ระวังไม่ให้แพร่กระจาย ออก เพื่อรอการกำจัดให้หมดสิ้นซากไปโดยเร็ว เมื่อปฏิบัติทั้ง ๒ ประการนี้นานๆ ไป ลักษณะนิสัยของคนดี ย่อมพัฒนาขึ้นในจิตใจของเราเอง ๓๑
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More