ข้อความต้นฉบับในหน้า
คัมภีร์ปฏิรูปมนุษย์
๔. ตามปกติใคร ๆ ก็ต้องการคบกับคนที่มีความจริงใจ
สัญลักษณ์ที่บ่งชี้ความจริงใจ คือ วจีสุจริต หรือที่สำคัญคือไม่พูดเท็จ
บุคคลที่เคยเป็นที่แสนรักแสนห่วงซึ่งกันและกัน ไม่ว่าจะเป็นภรรยา สามี
เพื่อน ฯลฯ แต่ถ้าฝ่ายใดพบว่าอีกฝ่ายหนึ่งขาดความจริงใจ ย่อมหมด
รักได้ เพราะฉะนั้น คนดีที่มีสติสัมปชัญญะบริบูรณ์ย่อมไม่พูดเท็จ ถ้าใคร
พูดเท็จ แสดงว่าถูกอำนาจกิเลสครอบงำจิตใจ ดังนั้น มุสาวาท จึงจัดเป็น
กรรมกิเลส
ผู้ที่ละกรรมกิเลสได้ครบ ๔ ประการ จัดได้ว่าเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติ
เข้าเกณฑ์มาตรฐานอันดับแรกของคนดี เพราะมีจิตใจบริสุทธิ์ ไม่เป็นทาส
ของกิเลส ส่วนผู้ทำกรรมกิเลส ๔ แม้เพียงประการเดียวก็ต้องถือว่าเป็น
คนไม่ดี เพราะใจของเขาถูกกิเลสครอบงำ คนประเภทนี้นอกจากจะไม่ได้
รับการสรรเสริญจากบัณฑิตแล้ว ยังถูกดูหมิ่นดูแคลนจากสังคมอีกด้วย
เพราะเขาไม่สามารถควบคุมตนเองให้ตั้งอยู่ในความดีได้ เป็นคนไม่มีวินัย
การกระทำของเขาท่าให้เขาหมดศักดิ์ศรีแห่งคนดี นั่นคือ ศักดิ์ศรีแห่ง
ความเป็นมนุษย์ของตัวเขาเอง ดังนั้นจึงกล่าวสรุปได้ว่า คนดี คือ ผู้ที่มีความ
สํานึกรับผิดชอบต่อศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ของตนเองเสมอ ใคร
ก็ตามที่ขาดความสํานึกรับผิดชอบต่อศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ของตนเอง
ย่อมได้ชื่อว่า คนชั่ว
อนึ่ง ผู้ที่ทำกรรมกิเลส ๔ ย่อมหมดอำนาจที่จะทำความดี หรือ
หมดอำนาจที่จะครองมนุษยสมบัติของตน สมบัติในเมืองมนุษย์ที่มีอยู่ ก็
จะพลอยร่อยหรอลงไปเรื่อยๆ
แท้ที่จริง สมบัติที่มีค่าสูงสุดของมนุษย์ก็คืออัตภาพร่างกายที่
เป็นมนุษย์และจิตใจ ที่ดีงาม ใครก็ตามที่ปล่อยให้อำนาจกรรมกิเลสครอบงำ
ประพฤติกรรมกิเลสซ้ำแล้วซ้ำเล่า ย่อมหมดอำนาจที่จะทำความดี หมด
อำนาจแห่งความเจริญรุ่งเรือง นั่นคือ หมดศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์