ข้อความต้นฉบับในหน้า
บทที่ ๕
“บัณฑิต” ตามความหมายในทางพระพุทธศาสนานั้นหมายถึงคนดี คือ คน
ที่คิดดี พูดดี และทำดี เป็นปกติ ทั้งนี้ย่อมหมายความด้วยว่า บัณฑิต
เป็นผู้ที่ละเว้นความชั่วทุกประการอย่างเด็ดขาด อีกทั้ง สามารถผูกมิตรไว้
ได้รอบด้าน บัณฑิตจึงเป็นผู้ที่จะสามารถแก้ไขปัญหาสังคมของมนุษยชาติ
เพราะมีพลังความดีอย่างมหาศาลอยู่ในตัว ซึ่งพร้อมที่จะใช้ขับเคลื่อนสังคม
และเศรษฐกิจให้ดีตามไปด้วย ประเทศใดที่ปรารถนาความเจริญก้าวหน้า
ก็ต้องมุ่งมั่นสร้างบัณฑิตประเภทนี้ขึ้นมาให้มาก แทนที่จะผลิตบัณฑิตที่มี
แต่ใบปริญญาบัตร ที่คอยหาช่องทางเอารัดเอาเปรียบผู้อื่นอยู่ร่ำไป ต้องถือว่า
บัณฑิตประเภทเอาเปรียบนี้จิตใจของเขาขาดศักดิ์และสิทธิ์ แห่งความเป็น
บัณทิตที่เป็นมิตรแท้
ดงนน จึงถึงเวลาแล้วที่ประเทศไทยของเราจะต้องช่วยกันสร้าง
บัณฑิตที่เป็นมิตรแท้ให้เต็มบ้านเต็มเมือง อย่ามัวไปหลงผลิตบัณฑิตประเภท
ที่ต้องให้ประเทศมหาอำนาจมาตรวจสอบ เพื่อประเมินคุณภาพอยู่เลย
นอกจากจะเป็นการกระทำที่ไม่ฉลาดแล้ว ยังจะพาให้บ้านเมืองล่มสลายไป
ด้วย
m).
น บ
ทน
สิ่งแวดล้อมที่เป็นคนดี คือแหล่งที่มาของมิตรแท้ ทารก
ทุกคนเมื่อแรกลืมตาดูโลกนั้นล้วนแต่ไร้เดียงสา บริสุทธิ์ สะอาดเหมือนกันหมด
ครั้นเมื่อเติบโตขึ้น แต่ละคนก็จะมีลักษณะนิสัยแตกต่างกันออกไป
ขึ้นอยู่กับบุคคลที่แวดล้อมเขาหรือบุคคลที่เขาคบหาสมาคมด้วย ซึ่งมี
ลักษณะนิสัยที่ดีและไม่ดี นั่นคือ ลักษณะนิสัยของมิตรเทียม หรือมิตรแท้
ของเรา ย่อมได้มาจากทิศ 5
๔. ผู้ที่มีลักษณะนิสัยของมิตรแท้ ย่อมไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม
ตามธรรมชาติ เราได้ทราบแล้วว่า “มิตรแท้” ตามนัยทางพระพุทธศาสนา
ကက