การเข้าใจสุคติและทุคติ คัมภีร์ปฏิรูปมนุษย์ หน้า 337
หน้าที่ 337 / 397

สรุปเนื้อหา

บทที่ ๙ ของหนังสือพูดถึงความแตกต่างระหว่างสุคติและทุคติ โดยสุคติหมายถึงโลกแห่งความสุข เช่น สวรรค์ ส่วนทุคติหมายถึงความทุกข์ เช่น นรก การมีอริยวินัยทำให้คนดีสามารถควบคุมกรรมกิเลสและไปสู่สุคติได้ แม้ว่าผู้มีอริยวินัยจะมีชีวิตอยู่ก็สามารถทำความดีและนำไปสู่สันติสุขในโลกนี้ได้ และในท้ายที่สุดจะได้ไปเกิดเป็นเทพในสวรรค์

หัวข้อประเด็น

-สุคติ
-ทุคติ
-อริยวินัย
-คุณสมบัติของคนดี
-กรรมดี

ข้อความต้นฉบับในหน้า

บทที่ ๙ คือ สุคติ กับ ทุคติ สุคติได้แก่ โลกมนุษย์และโลกสวรรค์ ซึ่งเป็นโลก แห่งความสุข ส่วนทุคติ ได้แก่ นรก ดิรัจฉาน เปรตและอสุรกาย ซึ่ง เป็นโลกแห่งความทุกข์ คนดี มีอริยวินัย ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบตลอดชีวิต เมื่อละจาก โลกนี้ไปแล้ว ย่อมไปสู่สุคติ ไม่ไปทุคติเลย ในพระสูตรกล่าวไว้ว่า “อริยสาวกนั้น เป็นผู้ปราศจากบาปกรรม ๑๔ ประการนี้แล้ว (ชื่อว่าเป็นผู้ปิดป้องทิศ ๖) ย่อมปฏิบัติเพื่อครองโลก ทั้งสอง ทําให้เกิดความยินดีทั้งโลกนี้และโลกหน้า หลังจากตายแล้ว ย่อมไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์” พุทธพจน์นี้ย่อมมีความหมายว่า ผู้ที่เป็นคนดี มีอริยวินัย ปฏิบัติ ตนโดยสุจริต สามารถปิดป้องทิศ 5 ได้แล้ว ย่อมมีโอกาสปฏิบัติกุศลกร รมยิ่งๆ ขึ้นไปอีก ขณะที่มีชีวิตอยู่ในโลกนี้ก็ประสบสันติสุข เมื่อตายไป ย่อมได้เสวยผลแห่งกรรมดีของตน ไปบังเกิดเป็นเทพอยู่บนสรวงสวรรค์ นี่ ๓๒๓ คือความหมายของการปฏิบัติเพื่อครองโลกทั้งสอง คุณสมบัติของคนดีที่โลกต้องการ การที่บุคคลมีอริยวินัย ควบคุมตนเองให้ละเลิกพฤติกรรมเลว ต่างๆ ได้โดยเด็ดขาด ย่อมสามารถพัฒนาความสำนึกรับผิดชอบในด้านต่างๆ ซึ่งจะก่อให้เกิดเป็นคุณสมบัติของคนดีที่โลกต้องการได้ ๔ ประการ ด้วย กันคือ ๑. ผู้ที่มีอริยวินัย ควบคุมกรรมกิเลส ๔ ในตนเองได้โดย เด็ดขาด ย่อมชื่อว่า เป็นผู้มีความสำนึกรับผิดชอบต่อศักดิ์ศรีแห่งความ เป็นมนุษย์ของตนเอง เพราะชื่อว่าคนดีแล้ว ย่อมไม่ทำกรรมกิเลสอย่าง เด็ดขาด ความสำนึกรับผิดชอบเช่นนี้ถือได้ว่าเป็นคุณสมบัติประการหนึ่ง ของคนดี ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More