ข้อความต้นฉบับในหน้า
บทที่ ๗
ร่วมสังคม เพราะอคติที่นอนเนื่องอยู่ในใจตน ซึ่งจะเกิดเป็นลักษณะนิสัย
และแสดงพฤติกรรมออกมาให้เห็นอย่างน้อย ๓ ประการ คือ
๑) เป็นคนมีอคติ บุตรที่เกิดในครอบครัวที่พ่อแม่นอกจากจะ
ขาดอริยวินัย ไม่ปฏิบัติหน้าที่ของตนให้สมบูรณ์แล้ว ยังแสดงความ
ลำเอียงต่อลูกๆ อีก หรือมิฉะนั้นก็ไม่เคยชี้แนะให้ลูกรู้ถึงโทษภัยของ
ความลำเอียงเลย และโดยเหตุที่บุตรเป็นมิจฉาทิฏฐิอยู่แล้ว จึงเกิดความ
คิดมิจฉาทิฏฐิยิ่งขึ้นอีกว่า ทำดีได้ดีมีที่ไหน ทำชั่วได้ดีมีถมไป ความคิด
เช่นนี้ย่อมมีอิทธิพลทำให้บุตรเป็นผู้มีจิตใจไม่เป็นธรรม เกิดความคิดว่า
คนในโลกนี้ไม่มีใครมีใจเป็นธรรม คนที่ยึดถือความเป็นธรรมย่อมเสีย
ประโยชน์ หรือเป็นคนโง่ ความคิดเช่นนี้ย่อมสั่งสมอคติในใจตนให้ทวีขึ้น
เรื่อยๆ และพร้อมที่จะแสดงความลำเอียงเสมอเมื่อมีโอกาส เพื่อผล
ประโยชน์ของตนเป็นสําคัญ
เมื่อบุตรเหล่านี้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ ถ้ามีตำแหน่งสูงมีอำนาจมาก
ความลำเอียงของเขาอาจสามารถสร้างความวิบัติให้แก่สังคมประเทศชาติ
และโลกได้
๒) แสดงอคติด้วยถ้อยคำเป็นอาจิณ บุตรที่มีอคติย่อมใช้
ถ้อยคำแสดงความลำเอียงในจิตใจของตนได้ทุกเรื่องโดยไม่รู้สึกเก้อเขิน
หรือรู้สึกผิด เช่น ตนเองหรือพรรคพวกของตนทำผิด ก็พยายามใช้วาทะ
แสดงเหตุผลโน้มน้าวผู้อื่นให้เห็นคล้อยตามว่า ตนหรือพรรคพวกของตนทำ
ถูก ผู้อื่นทำผิด แม้ยอมรับผิดก็เพราะจนด้วยหลักฐาน บางครั้งก็กล่าว
ถ้อยคำวิพากษ์วิจารณ์หรือว่าร้ายผู้อื่น และผู้ที่ขัดประโยชน์กับตน อย่าง
ไม่เป็นธรรม ซึ่งจะก่อให้เกิดความเข้าใจผิด ความสับสน และความแตก
สามัคคีกันในครอบครัวและญาติพี่น้อง
๓) แสดงความล่าเอียงทุกเรื่องที่ตนมีโอกาส เพราะเหตุที่ใจ
มีอคติเป็นพื้นฐาน บุตรประเภทนี้จึงมองข้ามความสำคัญของความยุติธรรม
๑๗๕