คัมภีร์ปฏิรูปมนุษย์: ความหมายของมิตรแท้ คัมภีร์ปฏิรูปมนุษย์ หน้า 126
หน้าที่ 126 / 397

สรุปเนื้อหา

ในบทความนี้ กล่าวถึงความแตกต่างระหว่างมิตรแท้และมิตรเทียมตามแนวคิดของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยมิตรแท้คือคนที่มีนิสัยดีงามและเป็นที่ไว้วางใจ ในขณะที่มิตรเทียมอาจเป็นคนชั่วที่มีนิสัยไม่ดี หลักการนี้สามารถใช้ในการสังเกตและคัดกรองคนที่เราคบหาสมาคมด้วย เพื่อให้มีความสัมพันธ์ที่ดีและปลอดภัยกับมิตรแท้.

หัวข้อประเด็น

-ความหมายของมิตร
-มิตรแท้และมิตรเทียม
-คุณลักษณะนิสัยของมิตร

ข้อความต้นฉบับในหน้า

คัมภีร์ปฏิรูปมนุษย์ ความหมายของ “มิตรแท้” ในบทที่แล้ว ได้กล่าวถึงความหมายของ “มิตร” ว่า หมายถึง คนที่สนิทสนม คุ้นเคยกัน ถึงขั้นสามารถใช้สอยสิ่งของในบ้านเรือนของ กันและกันได้ มีความไว้เนื้อเชื่อใจกัน เสมือนเป็นคนในครอบครัวเดียวกัน พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงแบ่งมิตรออกเป็น ๒ ประเภท คือ ๑) มิตรเทียม ๒) มิตรแท้ จากบทที่แล้ว เราได้ทราบว่า “มิตรเทียม” หมายถึงคนชั่ว คน เลว คนที่เป็นศัตรูในคราบมิตร และมีพฤติกรรมชั่วที่สังเกตเห็นได้อย่าง น้อย ๑๖ อย่าง ซึ่งสามารถใช้เป็นเกณฑ์มาตรฐานหรือเครื่องมือ ที่ให้ชื่อ ว่า “ตะแกรงกายสิทธิ์" สำหรับร่อน หรือค้นหาลักษณะนิสัยชั่วของผู้ที่เรา คบหาสมาคมด้วย ใครก็ตาม แม้ตัวเราเอง) ถ้ามีนิสัยชั่ว ๑๖ อย่างนี้ ก็ ถือว่าเป็นคนชั่ว หรือเป็นมิตรเทียม ให้แก่ตนเองและผู้อื่นเช่นกัน ส่วน “มิตรแท้” หมายถึงคนที่มีลักษณะนิสัยดีงาม ตรงกัน ข้าม กับมิตรเทียมโดยสิ้นเชิง พระพุทธองค์ทรงเรียกมิตรแท้ว่า "มิตรมี ใจดี” เป็น บุคคลที่เราสามารถร่วมกระบอกจอกจานได้โดยไม่เป็นพิษ เป็นภัยใดๆ เลย คุณลักษณะนิสัยของมิตรแท้นั้น จะได้กล่าวในหัวข้อต่อไป
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More