บ้านกัลยาณมิตร คัมภีร์ปฏิรูปมนุษย์ หน้า 281
หน้าที่ 281 / 397

สรุปเนื้อหา

บทนี้พูดถึงความหมายของบ้านกัลยาณมิตร ซึ่งหมายถึงครอบครัวที่ประกอบด้วยพ่อแม่และบุตร โดยมีลักษณะของกัลยาณมิตร ๗ ประการ ที่ต้องมีการปลูกฝังอบรมตั้งแต่เยาว์วัย บ้านที่มีสมาชิกทุกคนเป็นกัลยาณมิตรจะมีการศึกษาและดำเนินชีวิตตามอริยวินัยเพื่อสร้างคุณสมบัติคนดี

หัวข้อประเด็น

-ความหมายของบ้านกัลยาณมิตร
-ลักษณะของกัลยาณมิตร ๗ ประการ
-การปลูกฝังอริยวินัยในครอบครัว
-ความสำคัญของพ่อแม่ในการอบรมบุตร

ข้อความต้นฉบับในหน้า

บทที่ ๘ บ้านกัลยาณมิตร คำว่า กัลยาณมิตร แปลว่า มิตรดี คือ มิตรแท้ผู้ปรารถนาดีต่อ เพื่อนกันด้วยไมตรี มีลักษณะ ๗ ประการ คำว่า “บ้าน” ในที่นี้ หมายถึงที่อยู่อาศัยของผู้ร่วมครัวเรือน อัน ประกอบด้วยสามี ภรรยา และบุตร หรือมารดาบิดาและบุตรเป็นอย่างน้อย ซึ่งเรียกว่าครอบครัว เพราะฉะนั้น คำว่า บ้าน ในที่นี้จึงมีความหมายเช่นเดียว กับครอบครัว และบ้านกัลยาณมิตรก็คือครอบครัวกัลยาณมิตรนั่นเอง โดยทั่วไป สมาชิกที่เป็นหลักสำคัญในครอบครัว ย่อมประกอบ ด้วย พ่อ แม่ และลูก และอาจจะมีญาติหรือบริวารเข้ามาอยู่รวมด้วย ดังนั้น บ้านกัลยาณมิตร จึงหมายถึงบ้านที่พ่อ แม่ ลูก ตลอดจนสมาชิกทุกคนในบ้าน มีลักษณะของกัลยาณมิตร ๗ ประการดังกล่าวแล้ว และลักษณะกัลยาณมิตร ๗ ประการนี้ ย่อมถือได้ว่าเป็นอริยวินัยที่เพิ่มขึ้นจากอริยวินัยต่างๆ ที่ กล่าวมาแล้ว อริยวินัยทั้งหลายทั้งปวง ย่อมไม่สามารถเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ แต่จะต้องมีการปลูกฝังอบรมกันตั้งแต่บุคคลยังเยาว์วัย ดังนั้น ความหมาย ที่สมบูรณ์ของบ้านกัลยาณมิตรในที่นี้ ก็คือบ้านที่มีการปลูกฝังอริยวินัยต่าง ๆ เพื่อให้มีคุณสมบัติของคนดีที่โลกต้องการ ๔ ประการ คุณสมบัติของมิตรแท้ ๑๖ ประการ และลักษณะของกัลยาณมิตร ๓ ประการ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ทรงยกทิศเบื้องหน้า ซึ่งหมายถึงมารดา บิดาไว้เป็นทิศที่ ๑ ก็เพราะต้องทำหน้าที่ปลูกฝังอบรมอริยวินัยต่างๆ ให้ แก่บุตรตั้งแต่ลืมตามาดูโลก ๒๖๗
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More