การสร้างเครือข่ายคนดีในสังคม คัมภีร์ปฏิรูปมนุษย์ หน้า 227
หน้าที่ 227 / 397

สรุปเนื้อหา

บทที่ ๗ เน้นความสำคัญของการสร้างเครือข่ายคนดีในสังคมเพื่อป้องกันคนเลวที่อาจผงาดขึ้น ในพื้นที่ของคำพูดและการแสดงบทบาทของคนดี มีกลุ่มคนที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมหลายประเภท โดยแสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมของคนที่พยายามอนุรักษ์ความสะอาด ในขณะที่ความไม่สกปรกก็ยังคงแพร่หลายตามที่สาธารณะ นอกจากนี้ยังได้กล่าวถึงประเภทของบุตรในครอบครัวที่มีความแตกต่างกันตามศีลธรรมอีกด้วย

หัวข้อประเด็น

-การสร้างเครือข่ายคนดี
-ประเภทของบุตรในครอบครัว
-การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
-แนวทางการป้องกันคนเลว
-บทบาทของคนดีในสังคม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

บทที่ ๗ อย่างเหนียวแน่นในการสร้างเครือข่ายคนดี เพื่อให้มีอำนาจป้องกันคนเลว ไม่ให้ผงาดขึ้นมามีบทบาทสำคัญในสังคมประการหนึ่ง อีกประการหนึ่ง คนดีที่มีอริยวินัย และปฏิบัติหน้าที่มิตรแท้ ต่อเพื่อนนั้น อาจไม่ได้ผลเต็มร้อย (เปอร์เซ็นต์) ทุกเรื่อง เฉกเช่นบุตร ธิดาในครอบครัวที่พ่อแม่เป็นคนดีแสนดี แต่ก็มีลูกผ่าเหล่าผ่ากอกันเกือบ ทุกบ้าน ข้อนี้ฉันใดก็ฉันนั้น แม้พระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังตรัสว่า บุตรใน แต่ละครอบครัวนั้นมีอยู่ถึง ๓ ประเภท คือ มีทั้งบุตรที่มีศีลธรรมสูงกว่า เสมอ และต่ำทรามกว่าพ่อแม่ เพราะฉะนั้น ถึงอย่างไรๆ โลกเราก็คงจะ ไม่มีทางปลอดจากผู้คนมิจฉาทิฏฐิ ม ประการสุดท้ายก็คือ คนดีส่วนมากมักจะเก็บตัว รู้สึกเก้อ เขินที่จะแสดงบทบาทคนดีของสังคมอย่างเต็มที่ จึงมีทีท่าเสมือนหนึ่งจะ ปลีกวิเวก ซึ่งแท้ที่จริงแล้ว การวางเฉยเช่นนี้ ย่อมไม่ช่วยให้คนดีมีความ วิเวกได้ตลอดไป เพราะคนมักง่าย เห็นแก่ตัว ต่างพากันจุดชนวนเผา ผลาญโลกอยู่ทุกลมหายใจเข้าออก ๒) ดีแต่พูดกัน ผู้คนที่เกี่ยวข้องและต้องอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม นั้นมีอยู่หลายกลุ่ม หลายประเภท หลายระดับ สําหรับสิ่งแวดล้อมใกล้ตัว ได้ยินแต่คนพูดว่า “ฉันชอบ ความสะอาด” ไม่เคยได้ยินใครเลยที่กล่าวว่า “ฉันรักความสกปรกเป็น ชีวิตจิตใจ” กระนั้นก็ตาม เมื่อเราผ่านไปตามที่สาธารณะต่างๆ ในเมือง บุตร ๓ จำพวก : ๑) อภิชาตบุตร คือ บุตรที่มีศีลธรรมสูงกว่าพ่อแม่ ๒) อนุชาตบุตร คือ บุตรที่มีศีลธรรมเสมอพ่อแม่ ๓) อวิชาตบุตร คือ บุตรที่มีศีลธรรมต่ำทรามกว่าพ่อแม่ ๒๑๓
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More