การขาดความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมในสังคมไทย คัมภีร์ปฏิรูปมนุษย์ หน้า 257
หน้าที่ 257 / 397

สรุปเนื้อหา

บทที่ ๗ แสดงให้เห็นว่าผู้คนในสังคมจำนวนไม่น้อยขาดความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม โดยมีพฤติกรรมที่แสดงให้เห็นถึงการมองโลกในแง่ดีที่เกี่ยวเนื่องกับผลประโยชน์ส่วนตัว นอกจากนี้ยังมีการชอบแก้ตัวและไม่รับผิดชอบต่อผลกระทบที่เกิดจากการกระทำของตน ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่รุนแรงขึ้นในอนาคต โดยเฉพาะการทิ้งขยะในแม่น้ำลำคลอง และการมองข้ามผลกระทบที่เกิดจากอุตสาหกรรมที่ทำให้สภาพแวดล้อมเสื่อมโทรม. ดูเพิ่มเติมที่ dmc.tv.

หัวข้อประเด็น

-ความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม
-ผลกระทบของมิจฉาทิฏฐิ
-พฤติกรรมคนในสังคม
-การวางแผนระยะยาว
-ปัญหาทางสิ่งแวดล้อมในสังคมไทย

ข้อความต้นฉบับในหน้า

บทที่ ๗ - ขี้เมาขับรถชนเสาไฟฟ้าดับคาที่ หนุ่มเสพยาบ้าจี้สาวเป็นตัว ประกัน คนงานเสพยาบ้าแล้วพยายามโดดระเบียงตึกชั้น 4 จากตัวอย่างข่าวรายวันที่ยกมานี้ ย่อมแสดงให้เห็นว่า ผู้คน ในสังคมจํานวนไม่น้อย เป็นคนทุศีล ขาดหิริโอตตัปปะ ขาดปฏิสัมพันธ์ อันดีกับผู้คนรอบข้าง หรือขาดความสำนึกรับผิดชอบต่อทิศ 5 ของตน นั่นเอง เพราะจิตใจถูกครอบงำด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ ข. คฤหัสถ์ขาดความสำนึกรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมตาม ธรรมชาติ ก็เพราะไม่เห็นความสำคัญของสิ่งแวดล้อมทั้งใกล้และไกลตัว อีก ทั้งเห็นแก่ตัวยิ่งกว่าส่วนรวม ซึ่งจะเกิดเป็นลักษณะนิสัย และแสดง พฤติกรรมออกมาให้เห็นได้อย่างน้อย ๓ ประการ คือ ๑) ขาดวิสัยทัศน์เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม คนมิจฉาทิฏฐิเป็นคนมี ๒๔๗ ปัญญาน้อย เห็นแก่ตัว และใจแคบ ดังนั้นเมื่อกระทำสิ่งใด ก็จะคิดถึง เฉพาะประโยชน์ระยะสั้น ที่จะเกิดขึ้นแก่ตนก่อนส่วนรวม จึงไม่ใคร่คำนึง ถึงผลเสียที่จะเกิดขึ้นในระยะยาว เป็นผู้ที่ทำงานโดยไม่มีการวางแผน ¿ ระยะยาวนั้นเอง ๒) ชอบแก้ตัว คนมิจฉาทิฏฐิไม่ว่าจะทำงานเล็กหรือใหญ่ ก็มัก จะทําอย่างมักง่าย ครั้นเมื่อเกิดผลเสียหายขึ้น ก็พยายามหาเหตุผลมาแก้ตัวบ้าง ซัดทอดความผิดไปให้ผู้อื่นบ้าง โอดครวญว่าตนไม่ได้รับความเป็นธรรมบ้าง หรือเมื่อจนด้วยพยานหลักฐาน ก็จะหาทางพูดกลบเกลื่อนเพื่อเอาตัวรอด ดังกรณีชาวบ้านที่ชอบทิ้งสิ่งปฏิกูลลงในแม่น้ำลำคลองเป็น ประจำ เมื่อถูกทักท้วงตักเตือน ก็จะแก้ตัวว่าสิ่งปฏิกูลจากบ้านของตน เพียงเล็กน้อย ย่อมไม่ทำให้น้ำในแม่น้ำลำคลองถึงกับเน่าเสียได้ สิ่ง ปฏิกูลที่ปล่อยมาจากโรงงานอุตสาหกรรมต่างหาก ที่ทำให้น้ำเน่าเสีย
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More