การทำบาปกรรมและอริยวินัย คัมภีร์ปฏิรูปมนุษย์ หน้า 349
หน้าที่ 349 / 397

สรุปเนื้อหา

บทความนี้พูดถึงการทำบาปกรรม 14 ที่มีผลต่อชีวิตของทุกคนทั้งในชาตินี้และชาติหน้า รวมถึงความสำคัญของการละบาปกรรมเพื่อนำไปสู่ชีวิตที่ดีและมีความสุข นอกจากนี้ยังมีการแนะนำวิธีการปลูกฝังอริยวินัยผ่านแนวคิดทิศ 5 ที่ทำให้ทุกคนในสังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีสุข

หัวข้อประเด็น

-บาปกรรม
-อริยวินัย
-ทิศ 5
-การทำความดี
-ความสัมพันธ์ในสังคม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

บทที่ ๙ ๓ หมวดแรก ง ข้อวินัยที่ต้องนำไปปฏิบัติอยู่ ๘ หมวด ที่สำคัญคือ รวมเป็นบาปกรรม ๑๔ เมื่อมีความเข้าใจแล้วว่า การทำบาปกรรม ๑๔ นอกจากจะเป็นการปฏิบัติผิด ที่สามารถก่อให้เกิดทุกข์และความเดือดร้อน แก่ผู้ปฏิบัติเองและสังคมในชาตินี้แล้ว ยังจะมีวิบากถึงขั้นตกนรกในชาติ หน้าอีกด้วย ส่วนการละบาปกรรม ๑๔ ได้ ย่อมเป็นข้อบ่งชี้ถึงความมี คุณสมบัติของคนดีที่โลกต้องการของผู้ปฏิบัติ ย่อมมีชีวิตอย่างสันติสุขใน โลกนี้ เมื่อละโลกนี้ไปแล้ว ย่อมไปสู่สุคติโลกสวรรค์ เมื่อเกิดความเข้าใจและเชื่อมั่นเช่นนี้แล้ว ผู้มีปัญญา ย่อม อบรมตนเองให้ตั้งใจละกรรมชั่วทั้งปวง ตั้งใจทำความดีทุกรูปแบบ เป็น การสร้างหรือปลูกฝังอริยวินัยด้วยตนเอง โดยไม่ต้องมีใครมาเคี่ยวเข็ญ ตักเตือน พร่ำสอน ๒. การปลูกฝังอริยวินัยโดยขบวนการทิศ 5 โดยเหตุที่คนเรา ๓๓๕ มิได้มีชีวิตอยู่ตามลำพังคนเดียว แต่ทว่าอยู่ร่วมกันเป็นสังคม พระพุทธ องค์จึงทรงบัญญัติให้แต่ละคนเป็นศูนย์กลาง ถูกแวดล้อมด้วยทิศ 5 ซึ่ง แต่ละทิศมีหน้าที่ต้องปฏิบัติต่อผู้ที่เป็นศูนย์กลาง ขณะเดียวกัน ผู้ ที่เป็น ศูนย์กลาง ก็มีหน้าที่ต้องปฏิบัติต่อผู้คนที่แวดล้อมทั้ง 5 ทิศ กล่าวอีก อย่างหนึ่งก็คือ ผู้ที่เป็นศูนย์กลางและทิศ 5 ของตน ต่างต้องมี ปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกันด้วยอริยวินัย ถ้าแต่ละฝ่าย ปฏิบัติหน้าที่ของตนตามพุทธบัญญัติไม่มี บกพร่องหรือที่เรียกว่า “ปฏิบัติถูก” ปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันย่อมจะดำเนิน ไปด้วยดีทุกทิศ นั่นคือ ทุกคนในสังคมจะมีแต่คนดี มีอริยวินัยและมี ชีวิตอยู่อย่างเป็นสุข อย่างไรก็ตาม โดยทั่วไปแล้ว ผู้ที่เป็นศูนย์กลางจะได้รับ อิทธิพลจากทิศ 5 มากกว่าจะมีอิทธิพลต่อทิศ 5
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More