ข้อความต้นฉบับในหน้า
บทที่ ๖
๑) ขาดแคลนทรัพย์สิ่งของ
๒) ขาดแคลนกำลังใจ
๓) ขาดแคลนความรู้ความสามารถในการแสวงหาสิ่งที่ตนอยากได้
๔) ขาดความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
ถ้าปล่อยให้คนในสังคมต่างหวาดผวาว่า ตนมีความทุกข์มีความ
ขาดแคลนและขาดความปลอดภัยอยู่ตลอดเวลาเช่นนี้ การพัฒนาลักษณะ
นิสัยของคนดีตามวิธีการในทิศ 5 อาจไม่ประสบผลสำเร็จ พระพุทธองค์
จึงทรงแสดงสังคหวัตถุ ๔ เพื่อเป็นบทฝึกพัฒนา ความมีเมตตากรุณาให้
เกิดขึ้นในจิตใจของทุกคนก่อน โดยให้ต่างคนต่างตั้งใจสงเคราะห์ในสิ่งที่
แต่ละฝ่ายขาดแคลน คือ
๑. ทาน การให้ อาจเป็นการแบ่งปันสิ่งของซึ่งกันและกัน การ ๑๖๕
แลกเปลี่ยนกันด้วยน้ำใจไมตรี การบริจาคสิ่งของให้ผู้ยากไร้ รวมทั้งการ
บริจาคทานให้แก่พระภิกษุสงฆ์ผู้ที่ยังชีพด้วยการบิณฑบาตตามพุทธวินัย
ผู้ที่ให้ทานสม่ำเสมอจนเป็นนิสัย ย่อมมีความเมตตากรุณาต่อผู้อื่นเสมอ
๒. ปิยวาจา การเจรจาไพเราะ ถ้อยคำมุสาวาททุกแบบนอกจาก
จะบั่นทอนกำลังใจกันแล้ว ยังก่อให้เกิดความอาฆาตพยาบาทและเป็น
ศัตรูกันอีกด้วย ดังนั้นคนเราจึงจำเป็นต้องเจรจากันด้วยถ้อยคำไพเราะ
ผู้ที่เจรจาไพเราะได้ ก็เพราะมีใจเมตตากรุณาเป็นพื้นฐานสำคัญ ขณะ
เดียวกันการเจรจาไพเราะย่อมเป็นการให้กำลังใจกัน สร้างความรัก
สมัครสมานสามัคคีกัน ทำให้มิตรภาพระหว่างกันยืนยาวตลอดไป
๓. อัตถจริยา การประพฤติให้เป็นประโยชน์ เป็นการช่วย
เหลืออนุเคราะห์ ฝ่ายที่ขาดแคลนความรู้ความสามารถในเรื่องต่างๆ ตาม
ความเหมาะสม เป็นการพัฒนาความเมตตากรุณาและความรับผิดชอบต่อ