ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับศาสนา DF 404 ศาสนศึกษา หน้า 19
หน้าที่ 19 / 481

สรุปเนื้อหา

บทที่ 1 อธิบายถึงความสำคัญของศาสนาในประวัติศาสตร์มนุษย์ว่ามีอิทธิพลต่อสังคมอย่างไร โดยมีการจำแนกความหมายของคำว่า 'ศาสนา' ทางภาษาและความหมายที่นักปราชญ์หลากหลายได้มีการวิเคราะห์ไว้ ความหมายทางภาษาแสดงถึงคำสั่งสอนและการปกครองที่ประกอบด้วยข้อห้ามและคำแนะนำที่มีองค์ประกอบที่สำคัญต่อความเชื่อในอำนาจที่มองไม่เห็น ซึ่งรวมถึงศาสนาต่างๆ เช่น ศาสนาอิสลาม, คริสต์, พุทธ, และพราหมณ์-ฮินดู ความเข้าใจในภูมิหลังของศาสนาจึงจำเป็นต่อการใช้ชีวิตในสังคมปัจจุบัน หากสนใจศึกษาเพิ่มเติมกรุณาเยี่ยมชม dmc.tv

หัวข้อประเด็น

-ความหมายของศาสนา
-อิทธิพลของศาสนาในสังคม
-ความเชื่อในอำนาจที่มองไม่เห็น
-การสั่งสอนและข้อห้ามในศาสนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

บทที่ 1 ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับศาสนา เราอาจจะกล่าวได้ว่าในประวัติศาสตร์ของมวลมนุษยชาติ ไม่มีสมัยใดและไม่มีเผ่าใดเลย ที่ไม่นับถือศาสนา ซึ่งในสังคมปัจจุบันนี้มีประเทศต่าง ๆ ในโลกมากกว่า 190 ประเทศ และมี ประชากรมากกว่า 6,000 ล้านคน ต่างก็นับถือศาสนาด้วยกันแทบทั้งสิ้น ศาสนาจึงมีอิทธิพล และแพร่หลายไปทั่วในสังคมมนุษย์ทุกยุคทุกสมัยตั้งแต่สังคมปฐมภูมิเก่าแก่ที่สุดจนถึงยุคปัจจุบัน ศาสนาจึงเป็นคำที่มนุษย์คุ้นเคยได้ยินมานานและมีความหมายมากที่สุด ยิ่งใหญ่ที่สุด อีกทั้งมี ความสำคัญต่อวิถีชีวิตของมนุษย์มากที่สุดด้วย ดังนั้นจึงมีความจำเป็นและสำคัญอย่างยิ่งที่เรา ควรที่จะต้องศึกษาให้เข้าใจถึงภูมิหลังของศาสนาต่าง ๆ ที่มีมนุษย์นับถือกันอยู่ทั่วโลก 1.1 ความหมายของศาสนา คำว่า “ศาสนา” นักปราชญ์ได้นิยามความหมายของศาสนาไว้แตกต่างกันอยู่มาก จึงขอนำ เสนอความหมายที่ควรทราบ ดังนี้ 1.1.1 ความหมายตามรูปศัพท์เดิม' ในภาษาสันสกฤต คือ ศาสน์ และตรงกับใน ภาษาบาลีว่า สาสน์ แปลว่า คำสั่งสอน หรือคำสอน หรือการปกครอง ซึ่งมีความหมายเป็นลำดับ ได้แก่ 1) คำสั่งสอน แยกได้เป็น คำสั่ง หมายถึง ข้อห้ามทำความชั่ว เรียกว่า ศีล หรือ วินัย และเป็นคำสอนอันหมายถึง คำแนะนำให้ทำความดี ที่เรียกว่า ธรรม เมื่อรวม คำสั่ง และคำสอน จึงหมายถึง ศีลธรรม หรือ ศีล กับ ธรรม นั่นคือมีทั้งข้อห้ามทำความชั่ว และแนะนำให้ทำความดี ซึ่งคำสั่งสอนต้องมีองค์ประกอบ คือ 1. กล่าวถึงความเชื่อในอำนาจของสิ่งที่มิอาจมองเห็นได้ด้วยตา เช่น ก. ศาสนาอิสลามและศาสนาคริสต์ เชื่อในอำนาจแห่งพระเจ้า ข. ศาสนาพุทธ เชื่ออำนาจแห่งกรรม ค. ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เชื่ออำนาจแห่งเทพเจ้า สุชีพ ปุญญานุภาพ. ประวัติศาสตร์ศาสนา, 2532 หน้า 1. 4 DOU ศาสนศึกษา
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More