ตำแหน่งและความแตกแยกในศาสนาอิสลาม DF 404 ศาสนศึกษา หน้า 446
หน้าที่ 446 / 481

สรุปเนื้อหา

บทความนี้อธิบายถึงตำแหน่งสำคัญในศาสนาอิสลาม เช่น อิหม่าม คอเตป และความแตกแยกของนิกายต่างๆ เช่น นิกายชีอะห์ และนิกายซุนนี โดยมีที่มาจากความแตกต่างในการเลือกผู้นำทางศาสนา รวมถึงบทบาทของคณะกรรมการประจำมัสยิด.

หัวข้อประเด็น

-ตำแหน่งอิหม่าม
-ตำแหน่งคอเตป
-บทบาทของฮัจญี
-นิกายชีอะห์
-นิกายซุนนี
-การจัดระเบียบศาสนาในมัสยิด

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ตำแหน่งอิหม่ามดำรงความสำคัญในการจัดระเบียบศาสนาประจำมัสยิด ตำแหน่งคอเตปเป็นผู้นำการอบรมให้แก่สัตบุรุษ ตำแหน่งมีลานเป็นผู้ประกาศเชิญชวนสัตบุรุษ อิสลามิกชนทั่วไปเฉพาะผู้หญิง ที่เคยไปเมกกะมาแล้ว เรียกว่า “ฮัจญี” คณะกรรมการประจำมัสยิด อิสลามิกชนทั่วไปเฉพาะผู้ชาย ที่เคยไปเมกกะมาแล้ว เรียกว่า “ฮัจญะ” การแตกแยกเป็นนิกายต่าง ๆ ของศาสนาอิสลามได้เริ่มต้นตั้งแต่ศาสดามุฮัมมัดทรง มรณภาพแล้ว สาเหตุสำคัญที่สุดเกิดจากข้อคิดเห็นไม่ตรงกัน เกี่ยวกับตำแหน่งผู้นำทาง ศาสนามากกว่าอย่างอื่น นั่นคือฝ่ายหนึ่งมีความเห็นว่าตำแหน่งผู้นำทางศาสนาสืบต่อจาก ศาสดามุฮัมมัดควรได้แก่ทายาทของพระองค์ คือ อลีย์ อีกฝ่ายหนึ่งมีความเห็นว่าควรมาจาก การเลือกตั้ง การแตกแยกนิกายสมัยแรกเริ่มมี 2 นิกาย คือ ฝ่ายที่นับถืออาลี เรียกตนเองว่า นิกายชีอะห์ แปลว่า สาวก หรือผู้ปฏิบัติตาม ส่วนฝ่ายที่ต้องการให้ผู้นำทางศาสนามาจากการเลือกตั้งเรียก ตนเองว่า นิกายฆวาริช แปลว่า ผู้แยกตัวออก การแตกแยกของสองนิกายแรกนั้น มุสลิมส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วย จึงทำให้เกิดนิกายที่ 3 เรียก ว่า นิกายซุนนี แปลว่า ผู้ถือตามตำนานเดิม ศาสนาอิสลาม DOU 431
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More