ข้อความต้นฉบับในหน้า
3.11.1 ขบวนการพรหมสมาช
สมาคมนี้เกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2371 โดย ราม โมหัน รอย เป็นผู้ก่อตั้ง ณ เมืองกัลกัตตา หลัก
การใหญ่ของสมาคมพรหมสมาช คือ
1. เป็นเอกเทวนิยม ถือว่าเทพเจ้าผู้ยิ่งใหญ่มีองค์เดียวคือ พระพรหม พระองค์ทรง
มีตัวตนและไม่เคยอวตารลงมาเป็นอะไรเลย
2. เชื่อว่าอาตมัน ไม่ตาย
3. เชื่อว่าในความหลุดพ้น โดยการสำนึกผิดและทำความดี
4. ปฏิเสธคำสอนเรื่องสังสาร ประเพณีกุมารสมรสและระบบวรรณะ
5. สนับสนุนให้หญิงหม้ายแต่งงานได้ และออกกฎหมายห้ามชายมีภรรยาหลายคน
และห้ามทำพิธีสตี (พิธีหญิงหม้ายต้องชดเชยกองไฟตายตามสามี)
ในปี พ.ศ. 2408 สมาคมนี้ได้แตกแยกเป็น 2 สาย คือ อาทิพรหมสมาช โดยมี เทเพนทร
นาถตะกอร์เป็นผู้นำสาขานี้มุ่งรักษาหลักการดั้งเดิมของสมาคมไว้และอีกสาขาหนึ่งคือ สาธารณ
พรหมสมาช ภายใต้การนำของ เกษับจันทรเสน สาขานี้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงบ้าง อย่าง
เช่น เกษับจันทรเสนได้ประดิษฐ์สัญลักษณ์ของนิกายนี้ขึ้นมาใหม่ เป็นรูปตรีศูล ไม้กางเขนและ
ดวงจันทร์เสี้ยว เป็นเชิงรวม 3 ศาสนา คือ ฮินดู คริสต์ อิสลาม เข้าด้วยกัน และบางครั้ง
จันทรเสนก็แสดงตนว่าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับพระเยซูคริสต์ แต่เมื่อถึงแก่กรรมได้
ออกพระนามพระเจ้าจนวาระสุดท้าย
3.11.2 ขบวนการอารยสมาช
สวามี ทยานันทะสรัสวดีเป็นผู้ตั้งขึ้น เมื่อ พ.ศ. 2418 ณ เมืองบอมเบย์ หลักการใหญ่
ของสมาคมนี้ ถือคำสอนในคัมภีร์พระเวทเป็นพื้นฐานของการปฏิบัติ ได้นำเอาพระเวทขึ้นมา
ศึกษาอย่างจริงจัง และได้นำศาสนาขึ้นมาเป็นอุดมการณ์ของชาติ เทพเจ้ามีลักษณะเป็นเอกนิยม
ให้ความเคารพพระพรหม ปฏิเสธระบบวรรณะ ทฤษฎีอวตารและกุมารสมรส อนุญาตให้หญิง
หม้ายแต่งงานใหม่ได้
3.11.3 ขบวนการกฤษณะมิชชั่น
สมาคมนี้มีศรีรามกฤษณะ สวามีวิเวกานันทะ เป็นผู้ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2440 ยึดหลัก
การประนีประนอม ยอมรับคำสอนของทุกศาสนาที่มีผู้นับถือในอินเดียว่าไม่มีความขัดแย้งกัน
ศ า ส น า พ ร า ห ม ณ์ - ฮินดู DOU 91