ข้อความต้นฉบับในหน้า
2.1 ประมวลกฎหมายต่าง ๆ เช่น กฎหมายมรดก การซื้อขาย การหย่าร้าง ฯลฯ
2.2 หลักปฏิบัติของมุสลิม เช่น การถือศีลอด การประกอบพิธีฮัจญ์ ฯลฯ
ข้อควรทราบอีกอย่างหนึ่งก็คือว่า ปราชญ์มุสลิมในสมัยต่อมาได้นำเอาซูเราะห์
ทั้งหมดในคัมภีร์อัลกุรอานมาแบ่งเป็น 30 บท แต่ละบทมีความยาวใกล้เคียงกัน เรียกว่า “นุช”
เพื่อให้มุสลิมผู้มีศรัทธาได้ใช้อ่านวันละบทในระหว่างถือศีลอดในเดือนรอมะฎอนครบ
30 บท พอดี ปัจจุบันนี้คัมภีร์อัลกุรอานได้รับการแปลเป็นภาษาต่าง ๆ เกือบทุกภาษา และ
แพร่หลายไปทั่วโลก รวมทั้งฉบับภาษาไทย
2. อัล ฮะดิส
30 วัน
นอกจากมุสลิมจะถือว่าพระคัมภีร์อัลกุรอานเป็นธรรมนูญสูงสุดในการดำเนินชีวิตแล้ว
พวกเขายังถือว่า อัล ฮะดิส เป็นแบบแผนในการประพฤติปฏิบัติอันดีงามอีกด้วย อัล ฮะดิส เป็น
โอวาทและจริยวัตรต่าง ๆ ของท่านนบีมุฮัมมัด ซึ่งสาวกของท่านเป็นผู้รวบรวมไว้ การรวบรวมนี้
มีอยู่หลายครั้ง แต่มุสลิมส่วนใหญ่ถือว่า อัล ฮะดิส ที่รวบรวมขึ้นในสมัยคอลีฟะห์ อะบาชิด (ค.ศ.
875) เป็นฉบับที่แท้จริง
อัล ฮะดิส มีฐานะเป็นคำสอนและบทอธิบายพระคัมภีร์อัลกุรอาน จึงไม่มี
ความสำคัญและความศักดิ์สิทธิ์เทียบเท่าพระคัมภีร์อัลกุรอาน เนื้อหาของ อัล ฮะดิส อาจสรุป
ได้ 5 ประการดังนี้
1. เนื้อหาที่แสดงอุปนิสัยของท่านนบีมุฮัมมัดเพื่อให้เป็นแบบอย่างแก่มุสลิมทั่วไป
เช่น ไม่ทะนงตน ไม่ถือตัว ไม่สบประมาทผู้ยากไร้ มีความละอายที่จะขัดพระบัญชาของพระเจ้า
และรักสันติภาพ ดังจะเห็นได้จากพระคัมภีร์อัลกุรอาน ได้ยกย่องท่านนบีมุฮัมมัดว่า “แท้จริง
เจ้าเป็นผู้มีจริยธรรมอันสูงส่ง” และท่านนบีมุฮัมมัดได้กล่าวไว้ใน อัล ฮะดิส ตอนหนึ่งว่า
“สำหรับท่านทั้งหลายให้ตามแบบอย่างของฉัน และแบบฉบับของคอลีฟะห์ อัร-รอชิดีน
(สาวกผู้ได้รับทางนำ)”
2. เนื้อหาที่แสดงจรรยาบรรณตามหน้าที่ต่อบุคคลผู้ใกล้ชิด เช่นบิดามารดา ครู
อาจารย์และมิตรสหาย เป็นต้น ดังเช่นท่านนบีมุฮัมมัดได้สอนว่า “จงดูแลแม่ของเจ้าเพราะ
สวรรค์อยู่ใต้ฝ่าเท้าของแม่”
* ภัทรพร สิริกาญจน, ความรู้พื้นฐานทางศาสนา. พิมพ์ครั้งที่ 4, 2546 หน้า 86-87.
ศ า ส น า อิสลาม DOU 389