สมัยพราหมณ์ในอินเดีย DF 404 ศาสนศึกษา หน้า 68
หน้าที่ 68 / 481

สรุปเนื้อหา

ในสมัยพราหมณ์ ชนชาติอารยันยึดครองตอนเหนือของอินเดีย มีกษัตริย์และขุนนางมีอำนาจมาก ขณะเดียวกันชนชั้นกลางได้ปรับตัวไปประกอบอาชีพค้าขาย จนร่ำรวย ส่วนชนพื้นเมืองกลายเป็นชนชั้นต่ำ คือ ศูทร ซึ่งถูกกีดกันจากการมีส่วนร่วมในสังคม พราหมณ์เป็นชนชั้นสำคัญที่มีอิทธิพลสูงสุดในด้านศาสนา ทำหน้าที่ประกอบพิธีกรรมที่ยอดเยี่ยม เช่น ราชาภิเษก และอธิบายถึงเทพเจ้าองค์ใหม่ คือ พระพรหม เป็นผลให้มีลัทธิใหม่เกิดขึ้นในสมัยนี้

หัวข้อประเด็น

- ความสำคัญของพราหมณ์
- ประวัติศาสตร์อินเดีย
- พิธีกรรมทางศาสนา
- ความเชื่อและลัทธิในสมัยพราหมณ์
- ระบบชนชั้นในสังคมอินเดีย

ข้อความต้นฉบับในหน้า

3.1.3 สมัยพราหมณ์ ในสมัยนี้ พวกอารยันได้ยึดครองตอนเหนือของอินเดียทั้งหมด จึงเกิดเป็นแว่นแคว้นต่างๆ แต่ละแคว้นต่างมีอิสระไม่ขึ้นต่อกัน เช่นแคว้นปัญจาละ แคว้นอโยธนา แคว้นกุรุเกษตร เป็นต้น พระราชาและขุนนางผู้ใหญ่ต่างก็มีกรรมสิทธิ์ครอบครองที่ก่อจึงใช้ชีวิตอย่างมั่งคั่งฟุ่มเฟือย ส่วน ชนชั้นกลางที่ไม่มีที่ดินต่างไปประกอบอาชีพค้าขายจนร่ำรวย พวกพื้นเมืองเดิมที่อยู่ใต้อำนาจ ของอารยันซึ่งเรียกว่า ทัสยุ ได้กลายเป็นชนชั้นศูทร ซึ่งเป็นชั้นต่ำที่ชาติอารยันทุกชั้นจะร่วม สมาคมไม่ได้ เนื่องจากพวกอารยันเชื่อในความขลังความศักดิ์สิทธิ์ของพระผู้เป็นเจ้า และการทำพิธีพลี บูชาเพราะเหตุว่าถ้าการประกอบพิธีกรรมเป็นไปอย่างถูกต้องจนเป็นที่พอพระทัยของพระเจ้าแล้ว จะทรงเมตตาประทานพรให้สมปรารถนาและถ้าผู้ประกอบพิธีกรรมมีความมานะพากเพียร จนถึงที่สุดก็อาจเปลี่ยนสถานภาพจากมนุษย์ธรรมดาไปเป็นเทพเจ้าได้ ในยุคสมัยนี้พราหมณ์ เป็นผู้มีอิทธิพลสูงสุดในจิตใจของประชาชน เพราะเป็นผู้ผูกขาดความรู้ในการประกอบพิธีกรรม และสามารถติดต่อกับพระเจ้าได้เพียงฝ่ายเดียวเท่านั้น และผลจากการยกย่อง สถานภาพของ พราหมณ์ได้ทำให้เกิดค่านิยมในการประพฤติพรหมจรรย์ และเชื่อกันว่าสามารถยกสถานะให้ เท่าเทียมกับพระราชาได้ จึงเกิดการสละครอบครัวและทรัพย์สมบัติออกบวชกันเป็นจำนวนมาก ทำให้มีลัทธิใหม่ ๆ เกิดขึ้น สมัยนี้จึงไ สมัยนี้จึงได้ชื่อว่าสมัยพราหมณะหรือพราหมณ์ หน้าที่ของพราหมณ์ พวกพราหมณ์เป็นชนชั้นสำคัญของสังคม มีหน้าที่เฉพาะที่ชนชั้นอื่นไม่สามารถทำหน้าที่ แทนได้ มีดังนี้คือ 1. เป็นผู้ทำพิธีกรรมทางศาสนา ซึ่งมีระบบแบบแผนที่ซับซ้อนยิ่ง เช่นพิธีกรรมในการ ราชาภิเษกที่เรียกว่า ราชสยะ พิธีปล่อยม้าอุปการ เรียกว่า อัศวเมธ และบุรุษเมธ อันเป็นการ บูชายัญมนุษย์ ซึ่งพิธีเหล่านี้คนทั่วไปไม่อาจทำให้ถูกต้องโดยลำพังได้ 2. เป็นผู้อธิบายเทพเจ้าองค์ใหม่ที่เกิดขึ้น คือ พระพรหม เพราะแต่เดิมมาพวกพราหมณ์ ยกย่องพระอินทร์บ้าง พระรุทระบ้าง ต่อมาภายหลังความคิดได้เปลี่ยนแปลงไป โดยยกให้ พระพรหมเป็นเทพสูงสุดแต่เพียงองค์เดียว เพราะเป็นผู้สร้างโลกและสรรพสิ่ง ทรงสถิตอยู่ใน ทุก ๆ สิ่ง พราหมณ์จึงต้องมีหน้าที่อธิบายให้ประชาชนเข้าใจ ได้รู้ซึ้งถึงอันติมสัจจ์และมรรควิธีที่ จะเข้าถึงด้วยการทำความดีและการบำเพ็ญตบะ ศ า ส น า พ ร า ห ม ณ์ - ฮินดู DOU 53
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More