ความหมายและพิธีกรรมในศาสนาอิสลาม DF 404 ศาสนศึกษา หน้า 439
หน้าที่ 439 / 481

สรุปเนื้อหา

เครื่องหมายดาวเดือนมีที่มาจากสมัยราชวงศ์อุสมานียะฮฺในอาณาจักรออตโตมัน ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของกองทัพมุสลิมในสงครามครูเสด พิธีกรรมที่สำคัญของมุสลิม ได้แก่ ฮัจญ์ ซึ่งควรทำอย่างน้อย 1 ครั้งในชีวิตในเดือนซุล-ฮิจญะห์ และการถือศีลอดในเดือนรอมะฎอน ซึ่งต้องอดอาหารและเว้นการกระทำชั่วต่าง ๆ รวมถึงการละหมาดหรือนมาซ ที่ต้องทำวันละ 5 ครั้ง เพื่อแสดงความเคารพต่อพระเจ้า.

หัวข้อประเด็น

-ความหมายของดาวเดือน
-พิธีฮัจญ์
-พิธีถือศีลอด
-พิธีละหมาด

ข้อความต้นฉบับในหน้า

อนึ่งการทำเครื่องหมายดาวเดือนนี้เริ่มมีในสมัยราชวงศ์อุสมานียะฮฺแห่งอาณาจักร ออตโตมัน (ตุรกี) เพื่อใช้เป็นสัญลักษณ์ของกองทัพมุสลิมในสงครามครูเสด อาจารย์เสาวนีย์ จิตต์หมวด” ได้กล่าวว่าเหตุที่เกิดสัญลักษณ์นี้อาจเนื่องมาจากสาเหตุ 2 ประการ คือ 1. การถือศีลอดในเดือนรอมะฎอน จะเริ่มต้นด้วยการดูเดือน 2. เมื่อเอาดาวติดที่เดือนจะเป็นรูปตัวนูน (พยัญชนะตัวหนึ่งในภาษาอาหรับ) ซึ่งเป็น อักษรแรกของโองการหนึ่งจากคัมภีร์อัลกุรอาน ดังนั้นรูปดาวกับเดือนจึงไม่ใช่รูปเคารพของมุสลิม แต่เป็นเพียงเครื่องหมายบอกความเป็น มุสลิมเท่านั้น 13.9 พิธีกรรมที่สำคัญ 13.9.1 พิธีฮัจญ์ ชาวมุสลิมผู้มีฐานะดี มีสุขภาพดี บรรลุศาสนภาพ (ชาย 15 ปี หญิง 19 ปี) แล้ว ทุกคนควรหาโอกาสเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ ณ บัยตุลลอฮ์ นครเมกกะ ประเทศ ซาอุดิอารเบีย อย่างน้อย 1 ครั้งในชีวิต จะเห็นได้ว่าในปีหนึ่ง ๆ มุสลิมทั่วโลกจะเดินทางไป ประกอบพิธีฮัจญ์พร้อมกัน 1 ครั้ง ในเดือนซุล - ฮิจญะห์ (เดือนที่ 12 ของเฮจิรอศักราช) มีรายละเอียดได้กล่าวไว้แล้วในหลักธรรมสำคัญบางประการที่ว่าด้วยหลักปฏิบัติ 5 ประการ ที่มุสลิมทุกคนควรจะได้ถือปฏิบัติกันโดยเคร่งครัด 13.9.2 พิธีถือศีลอด เป็นพิธีกรรมอย่างหนึ่งที่ชาวมุสลิมปฏิบัติในเดือนรอมะฎอน (เดือนที่ 9 ของเฮจิรอศักราช) ตลอดทั้งเดือน โดยการอดอาหารการดื่มกินและเว้นการร่วม ประเวณี และการทำชั่วต่าง ๆ อย่างเคร่งครัดเป็นพิเศษ มีรายละเอียดกล่าวไว้แล้วในหลักธรรม สำคัญบางกรณีที่ว่าด้วยหลักปฏิบัติ 5 ประการที่มุสลิมทุกคนควรจะได้ถือปฏิบัติกันโดยเคร่งครัด 13.9.3 พิธีละหมาดหรือนมาซ เป็นพิธีที่ชาวมุสลิมนมัสการแสดงความเคารพต่อ พระเจ้าเป็นกิจวัตรที่สำคัญที่สุด ต้องประกอบพิธีนี้วันละ 5 ครั้ง มีรายละเอียดได้กล่าวไว้แล้ว ในหลักธรรมสำคัญบางประการที่ว่าด้วยหลักปฏิบัติ 5 ประการที่คนมุสลิมทุกคนควรจะได้ ถือปฏิบัติกันโดยเคร่งครัด 1 เสาวนีย์ จิตต์หมวด, วัฒนธรรมอิสลาม, 2535 หน้า 430. 424 DOU ศาสนศึกษา
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More