นิกายต่าง ๆ ในศาสนาอิสลาม DF 404 ศาสนศึกษา หน้า 450
หน้าที่ 450 / 481

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงนิกายต่าง ๆ ในศาสนาอิสลาม ได้แก่ นิกายวาห์ฮาบีที่ก่อตั้งโดยโมหมัด อิบนิ อับดุล วาห์ฮาบี ซึ่งมีการปฏิเสธการบูชาอื่นนอกจากพระอัลลอฮ์ และนิกายฟากีร์ที่มีความเชื่อเกี่ยวกับความยากจนทางจิตใจและการขอความกรุณาจากพระเจ้า โดยเน้นการปฏิบัติทางจิตวิญญาณและการเป็นสมาคมภายในกลุ่ม สมาชิกของฟากีร์ภักดีต่อหัวหน้าที่เรียกว่าเชค รับฟังและปฏิบัติตามคำสอนในนิกายของตน

หัวข้อประเด็น

-นิกายวาห์ฮาบี
-นิกายฟากีร์
-ความเชื่อของนิกาย
-การสืบทอดทางศาสนา
-ลักษณะเฉพาะของแต่ละนิกาย

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ที่ไม่ใช่กลุ่มเดียวกันอย่างเปิดเผย ถึงบางครั้งก็มีการประหารพวกอื่น ๆ เสมอ และอ้างว่าเพื่อ ความมั่นคงของพวกตนและพระศาสนาของตน พวกอิสไมลีนี้ต่อมาก่อให้เกิดนิกายหนึ่งใน ศาสนาอิสลาม คือ “ตากิย์ยา” แต่เป็นกลุ่มเล็กๆ ไม่ค่อยจะมีอิทธิพลเท่าไรนัก ชาวโลกจึงไม่ ค่อยจะรู้จัก 6. นิกายวาห์ฮาบี (Wahhbi) นิกายวาห์ฮาบีเป็นนิกายที่เกิดขึ้นเมื่อประมาณกลาง คริสต์ศตวรรษที่ 18 (ระหว่าง พ.ศ. 2238-2299) ผู้ตั้งนิกายนี้ชื่อว่า โมหมัด อิบนิ อับดุล วาห์ฮาบี (Mohamed Ibni Abdul Wahhbi) ท่านผู้นี้เรียกตนเองว่า “พิวริตัน” มุสลิมนิกายวาห์ ฮาบีนับถือพระอัลลอฮ์เจ้าอย่างเคร่งครัด ไม่นับถือพระมุฮัมมัดและศาสดาพยากรณ์อื่นใดๆ ทั้ง สิ้น เพราะถือว่าการกระทำเช่นนั้นเท่ากับเป็นการหันกลับมานับถือรูปเคารพ ซึ่งเป็นการทำผิด พระบัญญัติในคัมภีร์อัลกุรอานอย่างโจ่งแจ้ง นอกจากนี้ยังห้ามการแต่งกายด้วยเพชรพลอย ผ้าแพรไหมและสิ่งฟุ่มเฟือยอื่น ๆ ปฏิเสธมัสยิดหรือสุเหร่าที่สร้างหอคอย โดยอ้างว่าไม่มี บัญญัติไว้ในพระคัมภีร์ อีกทั้งวิทยาการสมัยใหม่ของโลกตะวันตก ความมุ่งหมายประการที่สำคัญที่สุดของการตั้งนิกายนี้ขึ้นก็คือ เพื่อยังความมั่นคง ตั้งมั่นให้แก่พระคัมภีร์อัลกุรอาน จึงนับถือและปฏิบัติตามพระคัมภีร์อย่างเคร่งครัด มีผู้ที่นับถือ นิกายนี้บางส่วนอยู่ในตะวันออกกลาง 7. นิกายฟากีร์ (Fagir) เรียกอีกอย่างว่า การเวษ (Darwesh) ภาษาเปอร์เซีย ฟากีร์ เป็นภาษาอาหรับ แปลว่า ยากจน อนาถา ต้องการความกรุณา ยากจน อนาถา หรือต้องการ ความกรุณา ไม่ใช่ยากจนเรื่องทรัพย์สมบัติเหมือนธรรมดา แต่ความยากจนในเรื่องของพรที่ พระเจ้าทรงประทานมาให้ จึงต้องมีการขอความกรุณาจากพระเจ้า การบำเพ็ญของนิกายนี้ จึงมีลักษณะเอนเอียงไปในข้าง “ขอความกรุณา” และมีคน ที่เป็นนักพรตเที่ยวภิกขาจรไปในที่ต่าง ๆ หัวหน้าของพวกฟากีร์นี้เรียกว่า เชค (chek) ส่วน คำว่า ทารเวษ (ภาษาเปอร์เซีย) แปลว่า “ประตู” ตามความหมายนี้ก็คือ ต่อพระเจ้าจากประตู บานหนึ่งไปสู่ประตูอีกบานหนึ่ง (โปรดสัตว์) ทุกคนในนิกายต้องมอบชีวิตจิตใจให้หัวหน้า เข้าทำนองเป็นสมาคมมากกว่านิกายแห่งศาสนา ฟากีร์แยกเป็นพวกใหญ่ ๆ ได้ 2 พวก คือ พวกหนึ่งเรียกว่า บาซาร์ (Bashar) ว่า ตามกฎหมาย หมายความว่า ปฏิบัติตามบัญญัติของอิสลาม อีกพวกหนึ่งเรียกว่า เบซาร์ ศาสนาอิสลาม DOU 435
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More