ข้อความต้นฉบับในหน้า
3.10 สัญลักษณ์ของศาสนา
สัญลักษณ์ของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ที่สำคัญและเป็นกลาง ๆ ที่ทุกนิกายยอมรับก็คือ
เครื่องหมายอันเป็นอักษรเทวนาครี ที่อ่านว่า “โอม” คำว่า “โอม” เป็นคำที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดใน
ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู อันหมายถึงพระเจ้าทั้ง 3 คือ “อ” อักษร ได้แก่ พระวิษณุหรือพระนารายณ์
“อุ” อักษรได้แก่ พระศิวะหรือพระอิศวร “ม” อักษรได้แก่พระพรหม เพราะฉะนั้น อ+อุ+ม เท่ากับ
“โอม” สัญลักษณ์ดังกล่าวนี้บางครั้งเรียกว่า “สวัสดิ์” หรือ “สวัสติกะ”
35
เครื่องหมาย “โอม” สัญลักษณ์แห่งพลังทั้ง 3 อัน หมายถึง พระพรหม พระวิษณุ และพระศิวะ
3.11 ฐานะปัจจุบันของศาสนา
นับตั้งแต่อินเดียถูกจักรพรรดิอิสลามปกครอง ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 13 ศาสนาพราหมณ์-
ฮินดู จึงไม่ได้รับการอุปถัมภ์ และขาดการปรับปรุงพัฒนา จนเกือบจะล่มสลาย สาเหตุหลัก
เนื่องจากคนวรรณะพราหมณ์ ลุ่มหลงในอำนาจและผลประโยชน์ และต่อมาอินเดียตกเป็น
อาณานิคมของอังกฤษในปี ค.ศ. 1857 เป็นเวลา 200 ปี ยิ่งทำให้ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู
ขาดเอกภาพ เพราะถูกผู้ปกครองกดขี่ ดูไปแล้วศาสนาพราหมณ์-ฮินดูแทบจะไม่มีบทบาท
เหมือนเดิม ทำการปรับปรุงจุดบกพร่องต่าง ๆ จนเกิดมีขบวนการปฏิรูปศาสนาขึ้นมา โดย
ประยุกต์คำสอนในคัมภีร์พระเวทให้ใช้ได้กับชีวิตประจำวันอย่างกลมกลืน ขบวนการต่อสู้นำไป
สู่ทางการเมือง เพื่อเรียกร้องเอกราชจากอังกฤษ ขบวนการปฏิรูปศาสนาเหล่านี้ ได้แก่
* สุชีพ ปุญญานุภาพ. ประวัติศาสนา, 2511 หน้า 489-496
90 DOU ศ า ส น ศึกษา