ข้อความต้นฉบับในหน้า
รับความสนใจจากมนุษย์
4. กลียุค (ยุคสุดท้าย) สัจธรรมเหลือเพียง 1 ใน 4 ของยุคแรก มนุษย์ไม่สนใจเรื่อง
ศีลธรรม ตกเป็นทาสของราคะ โทสะ โมหะ
ประชาชนที่อยู่ในวรรณะกษัตริย์ พราหมณ์ และแพศย์ ทุกคนต้องส่งบุตรเข้ารับการ
ศึกษาในสถานศึกษาแห่งใดแห่งหนึ่งของพราหมณ์ก่อนเริ่มการศึกษา นักบวชพราหมณ์จะทำ
พิธีเสกเป่ามนตร์และคล้องเส้นด้ายมงคลศักดิ์สิทธิ์ เรียกว่า สายธุรำ เฉวียงบ่า พิธีนี้เรียกว่า
ยัชโญปวีต ผู้ผ่านการทำพิธีดังกล่าวนี้แล้วถือว่าเป็นผู้เกิดใหม่อีกครั้งหนึ่ง เรียกว่า ทวิชะ แปลว่า
ผู้เกิดสองครั้ง
3.1.5 สมัยอุปนิษัท
ในสมัยนี้เป็นช่วงระยะเวลาของการพยายามค้นหาทางหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด
ทำให้เกิดเจ้าลัทธิที่มีความเห็นแตกต่างกันเป็น 4 พวกคือ
พวกที่ 1 เป็นพวกที่เชื่อในผลแห่งญาณ คือ ความรู้แจ้ง
พวกที่ 2 เป็นพวกที่เชื่อในผลแห่งการทำพลีบูชายัญ
พวกที่ 3 เป็นพวกที่เชื่อในผลของการบำเพ็ญตบะ ทรมานกาย-ใจ
พวกที่ 4 เป็นพวกที่เชื่อว่าการปฏิบัติให้หลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดนั้น ต้องพึ่ง
ตัวเอง หาใช่การสวดมนต์อ้อนวอน บูชาเทพเจ้า และสิ่งที่อยู่ในโลกนี้ล้วนเป็นมายาสกัดกั้นจิต
ไม่ให้เข้าถึงจุดหมายปลายทางซึ่งเป็นนามธรรม ดังนั้นการปฏิบัติอย่างเข้มงวดเพื่อละโลกียวิสัย
สามารถกระทำด้วยการบำเพ็ญตบะและการบำเพ็ญฌาน ซึ่งอาจจะปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือ
ทำไปพร้อม ๆ กันทั้งสองอย่าง ทำให้เกิดนักบวช 3 พวกคือ “ปริพาชก” แปลว่า ผู้เร่ร่อน “ภิกขุ”
แปลว่า ผู้ขอ และ “สันยาสี” แปลว่า ผู้สละ
สำหรับพวกที่เชื่อในผลแห่งญาน (คือปัญญาซึ่งทำให้เกิดการรู้แจ้ง) ได้เกิดนักคิดที่มีชื่อเสียง
3 พวก คือ ปรัชญาอุปนิษัทของพราหมณ์ ศาสนาเชนของมหาวีระ และศาสนาพุทธของ
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พวกพราหมณ์ในลัทธิอุปนิษัท ได้สร้างคัมภีร์อุปนิษัทว่าด้วยปรมาตมัน
และการเข้าถึงโมกษะ คัมภีร์อุปนิษัทนี้ได้ใช้เป็นตำราเรียนภาคสุดท้ายต่อจากพระเวท เรียกชื่อ
อีกอย่างหนึ่งว่า เวทานตะ แปลว่า ที่สุดแห่งพระเวท
แม้ว่าอุปนิษัทจะเป็นส่วนหนึ่งของพระเวท แต่ในทางปรัชญานั้น อุปนิษัทต่างจากพระเวท
56 DOU ศ า ส น ศึ ก ษ า