วันตรุษและนิกายในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู DF 404 ศาสนศึกษา หน้า 102
หน้าที่ 102 / 481

สรุปเนื้อหา

วันตรุษของแขกถือเป็นวันสนุกสนานและสำคัญในชีวิต โดยเฉพาะสำหรับวรรณะศูทร วันที่แรม 15 ค่ำ เดือน 4 เป็นวันสิ้นปีของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ซึ่งมีนิกายหลักสามนิกาย ได้แก่ นิกายไวษณวะ, ไศวะ, และศักติ นิกายไวษณวะเชื่อในอวตารของพระนารายณ์และมีการเคารพบูชาพระกรุณาและพระรามเป็นส่วนสำคัญ มีคัมภีร์สำคัญที่เชื่อมโยงถึงการบูชาและการปฏิบัติธรรม โดยเฉพาะคัมภีร์ภควัทคีตาที่สอนเกี่ยวกับกรรมโยคะและการเข้าถึงพระเจ้าผ่านการบูชาและความเพียร นอกจากนี้ยังมีคณาจารย์ที่มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมและรักษานิกายไวษณวะไว้เป็นอย่างดีในภาคใต้ของอินเดีย

หัวข้อประเด็น

-วันตรุษ
-นิกายในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู
-นิกายไวษณวะ
-คัมภีร์ภควัทคีตา
-กรรมโยคะ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ได้ว่าเป็นวันตรุษของแขก เป็นวันสนุกสนานของคนทุกวรรณะ โดยเฉพาะพวกวรรณะศูทร ถือว่าเป็นวันสำคัญมากในชีวิตของพวกเขา แรม 15 ค่ำ เดือน 4 ถือว่าเป็นวันสิ้นปีของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู 3.9 นิกายในศาสนา นิกายในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู มีอยู่มากมายด้วยกันหลายนิกาย แต่ที่จะได้กล่าวถึงใน ที่นี้จะพูดเฉพาะนิกายใหญ่ๆ ที่มีผู้นับถืออยู่เป็นจำนวนมากเท่านั้น ซึ่งมีอยู่ 3 นิกายคือ นิกาย ไวษณวะ (Vaisnavism) นิกายไศวะ (Saivism) และนิกายศักติ (Saktism) ดังมีรายละเอียด พอเป็นสังเขป ดังนี้ 3.9.1 นิกายไวษณวะ หรือไวษณพ เชื่อในการอวตารของพระนารายณ์ว่า พระ นารายณ์อวตาร 24 ครั้ง เพื่อช่วยมนุษย์โลกในคราวทุกข์เข็ญ นิกายนี้เคารพบูชาพระราม พระกฤษณะ หนุมาน และพระพุทธเจ้า โดยอ้างว่าเป็นอวตารปางที่ 5 ของพระนารายณ์ นิกายนี้ไม่เน้นพิธีกรรม เรียกตนเองว่า เป็นศาสนาฮินดู เคารพบูชาเทพเจ้าต่างๆ และคตินิยม สร้างเทวรูปไว้บูชาแบบพหุนิยม นิกายไวษณวะนี้จะมีรอยเจิมหน้าผากเป็น 3 จุด เป็นเครื่องหมายแสดงความเคารพ พระวิษณุ นิกายนี้มีอิทธิพลมากที่สุดในอินเดียภาคเหนือ และบริเวณชายฝั่งทะเลตะวันตกของ นครบอมเบย์ การเคารพพระวิษณุมีแนวปฏิบัติตามลัทธิภักดี (การเสียสละ) มากกว่าการเข้าฌาน คัมภีร์สำคัญของนิกายไวษณวะ ได้แก่ คัมภีร์สังหิตา (ประมวลบทสวดสดุดีเทพเจ้าในพิธี บูชายัญ) คัมภีร์รามายณะและภควัทคีตา คัมภีร์ภควัทคีตา มีสาระสำคัญ 2 ประการ ดังนี้ 1. สดุดีพระกฤษณะ ในฐานะทรงเป็นองค์บรมพราหมณ์ เป็นผู้ที่ฤษีทั้งปวงมุ่งเจริญ ภาวนาเพื่อเข้าถึงพระองค์ สำหรับประชาชนอาจเข้าถึงพระองค์ได้ด้วยการบูชาและสวดอ้อนวอน 2. หลักกรรมโยคะ คือสอนให้มนุษย์ซึ่งมีความประสงค์จะเป็นฆราวาสประกอบความเพียร กำจัดความปรารถนาดิ้นรนอันเป็นต้นเหตุของกรรม ก็จะสามารถบรรลุความหลุดพ้นได้เช่นกัน คณาจารย์ที่สำคัญที่ทำให้มีนิกายไวษณวะมั่นคง และรุ่งเรืองในภาคใต้ของอินเดีย ได้แก่ 1) นาถมุนี ผู้นำคนแรกของนิกายไวษณวะ ศ า ส น า พ ร า ห ม ณ์ - ฮินดู DOU 87
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More