แคว้นใหญ่ในชมพูทวีปและสังคมก่อนสมัยพุทธกาล DF 404 ศาสนศึกษา หน้า 137
หน้าที่ 137 / 481

สรุปเนื้อหา

บทความนี้เสนอภาพรวมของแคว้นใหญ่ต่าง ๆ ในชมพูทวีปในยุคก่อนพุทธกาล โดยมีการวิเคราะห์ถึงสภาวะการปกครองที่แบ่งแยกตามวรรณะและการบริหารของแต่ละแคว้น ตั้งแต่การปกครองในรูปแบบที่มีกษัตริย์หรือคณะบุคคล การแบ่งชั้นวรรณะที่ยิ่งใหญ่ รวมถึงเศรษฐกิจที่เน้นทางการเกษตรและอุตสาหกรรมหัตถกรรม ประชาชนมีความเชื่อในคำสอนของพราหมณ์ซึ่งมีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมและวิถีชีวิตอย่างมาก สิทธิและเสรีภาพของชั้นวรรณะต่ำถูกจำกัด ขณะที่นักบวชพราหมณ์มีฐานะสูงส่งในสังคม สตรีมีสถานะด้อยกว่า ในแคว้นสักกะ การตัดสินใจทางการเมืองมาจากมติของคนในที่ประชุม, dmc.tv

หัวข้อประเด็น

-การปกครองในชมพูทวีป
-เศรษฐกิจและการเกษตรกรรม
-วรรณะในสังคม
-อิทธิพลของพราหมณ์ต่อชีวิตประจำวัน
-สถานะของสตรีในสังคม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

แคว้นใหญ่ในชมพูทวีปเหล่านี้บางครั้งเป็นมิตรกัน บางครั้งก็ทำสงครามรบพุ่งชิงอำนาจ กันตลอดเวลา แคว้นใหญ่ที่มีอำนาจมากที่สุดในสมัยพุทธกาล ได้แก่ แคว้นมคธกับแคว้นโกศล พระพุทธเจ้าศาสดาของศาสนาพุทธถือกำเนิดในราชตระกูล (ศากยวงศ์) ทรงเป็นโอรส ของกษัตริย์ผู้ครองแคว้นสักกะ ซึ่งเป็นแคว้นเล็ก มีเมืองหลวงชื่อกรุงกบิลพัสดุ์ และมีฐานะเป็น ประเทศราชของแคว้นโกศล 5.1.1 สภาวะของสังคมในชมพูทวีปก่อนสมัยพุทธกาล มีลักษณะสำคัญพอสรุปได้ดังนี้คือ 1. ด้านการปกครอง แคว้นต่าง ๆ ส่วนใหญ่มีพระราชาเป็นหัวหน้าทำการปกครอง บางแคว้นปกครองโดยคณะบุคคลที่นับเนื่องในราชสกุล (เช่น แคว้นลิจฉวี) การปกครองจะ เป็นรูปแบบใดก็ตาม โดยทั่วไปแล้วจะมีคณะกรรมการปรึกษาหารือ มีสถานที่ประชุมร่วมกัน มีประธานเป็นผู้ชี้ขาด สำหรับแคว้นสักกะสมัยนั้น นโยบายการปกครองบ้านเมืองมาจากมติ ส่วนใหญ่ของสมาชิกในที่ประชุม 2. ด้านเศรษฐกิจ ส่วนใหญ่เป็นสังคมเกษตรกรรม บางแคว้นมีอุตสาหกรรม ประเภทหัตถกรรมที่มีชื่อเสียงและมีการติดต่อค้าขายระหว่างแคว้นใหญ่ๆ บางแคว้น (เช่น แคว้น อุชเชนีและโกสัมพี ฯลฯ เป็นต้น) สำหรับแคว้นสักกะนั้น เศรษฐกิจสำคัญที่สุดขึ้นกับอาชีพ เกษตรกรรม (คือการทำนา) 3. ด้านสังคมและวัฒนธรรม มีลักษณะที่สำคัญๆ และควรทราบดังต่อไปนี้ คือ 1) มีการแบ่งชั้นวรรณะเป็น 4 วรรณะใหญ่ คือ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ และ ศูทร ผู้อยู่ในวรรณะสูง 3 วรรณะแรก คือ กษัตริย์ พราหมณ์ และแพศย์ ได้แก่ พวกผิวขาว (อริยกะ) พวกที่อยู่ในวรรณะต่ำ คือ พวกศูทร ได้แก่ พวกผิวดำ ซึ่งเป็นคนพื้นเมืองเดิม มีการประกอบ อาชีพแตกต่างกันตามวรรณะมีการจำกัดสิทธิเสรีภาพ รังเกียจเดียดฉันท์ ดูถูกเหยียดหยาม และ กีดกันการสมาคมสมสู่ระหว่างพวกที่อยู่ในวรรณะสูงกับวรรณะต่ำ สตรีมีฐานะด้อยกว่าบุรุษ 2) พวกพราหมณ์ที่เป็นนักบวชได้รับการยกย่องนับถืออย่างสูง คำสอนของ พราหมณ์และปรัชญาฮินดูมีอิทธิพลต่อความเชื่อ ความรู้สึกนึกคิดและวิถีการดำเนินชีวิตของ ประชาชนเป็นอย่างมาก 3) นักบวชผู้ประพฤติพรหมจรรย์ที่มีผู้นิยมยกย่องและนับถือมาก สามารถ ยก ฐานะได้สูงเท่าเทียมกับจักรพรรดิ 122 DOU ศาสนศึกษา
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More