ความบริสุทธิ์อันยิ่งใหญ่และปรัชญาแห่งเต๋า DF 404 ศาสนศึกษา หน้า 221
หน้าที่ 221 / 481

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาเกี่ยวกับความบริสุทธิ์อันยิ่งใหญ่ 3 ประการในศาสนาเต๋า ได้แก่ สาระหรือรากฐานเดิม, พลัง และวิญญาณ รวมถึงปรัชญาในการดำเนินชีวิต 4 ประการที่ช่วยพัฒนาและเปลี่ยนแปลงชีวิตให้ดีขึ้น และสร้างความใกล้ชิดกับเต๋า การเข้าถึงเต๋าจะทำให้มนุษย์กลายเป็นอมตบุคคล ซึ่งมีหลายประเภท เช่น อมตบุคคลป่าและอมตบุคคลบ้าน และยังมีการอ้างถึงความคิดเห็นของจวงจื้อเกี่ยวกับฤาษีที่มุ่งหาความวิเวก โดยเน้นตนเองให้รู้จักและมีความพอเพียง

หัวข้อประเด็น

-ความบริสุทธิ์อันยิ่งใหญ่
-ปรัชญาเต๋า
-การดำเนินชีวิต
-อมตบุคคล
-สาระหรือรากฐานเดิม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

7.4.4 ความบริสุทธิ์อันยิ่งใหญ่ 3 ประการ สิ่งที่เล่าจื๊อสอนให้บุคคลเห็นและต้องถือเป็นหลักสำคัญของศาสนาเต๋านั่นก็คือ ความ บริสุทธิ์อันยิ่งใหญ่ 3 ประการ ได้แก่ 1. สาระหรือรากฐานเดิม (ซิง) ข้อนี้มุ่งถึงสวรรค์ เรียกว่า วู-ซิง เทียนซุน หรือ เทียน-เปาชุน โดยบุคลาธิษฐานเป็นมหาเทพสถิตอยู่ในอาณาจักรแห่งความบริสุทธิ์ มีพระ วรกายเป็นหยก ทรงเปล่งรัศมีดุจแสงสว่างจากดวงอาทิตย์ให้คนเห็นความจริงในโลก 2. พลัง (จิ) คือ พลังแห่งสติปัญญาความสามารถ เรียกว่า วูซี-เทียนชุน หรือห ลิงเปาชุน โดยบุคลาธิษฐานเป็นมหาเทพ สถิตอยู่ในอาณาจักรแห่งความบริสุทธิ์ ทรงแบ่งเวลา ออกเป็นวัน คืน ฤดู ทรงเป็นเจ้าแห่งธรรมชาติคู่แห่งโลก คือ หยางและหยิน (ในโลกนี้ล้วนมีคู่ เช่น มืด สว่าง, พระอาทิตย์ พระจันทร์, หญิง ชาย เป็นต้น) 3. วิญญาณ เรียกว่า ฟานซิงเทียนซุน หรือเชนเปาชุน โดยบุคลาธิษฐานเป็นจอม แห่งวิญญาณทั้งหลาย สถิตอยู่ในอาณาจักรอันเป็นอมตะของอมรทั้งปวง และเป็นผู้ทรงความ บริสุทธิ์ยิ่ง เป็นมหาเทพเท่ากับตัวเล่าจื้อผู้เป็นวิญญาณบริสุทธิ์อวตารลงมาสั่งสอนมนุษย์ ถ้า จะเปรียบก็เท่ากับปรมาตมันหรือพระพรหมในศาสนาพราหมณ์ 7.4.5 ปรัชญาในการดำเนินชีวิต มี 4 ประการ ชีวิตจะดีได้ จะต้องดำเนินในทางดังนี้ 1. จื้อใจ คือ รู้จักตัวของตัวเองให้ถูกต้อง 2. จื้อเซง คือ ชนะตัวเองให้ได้ 3. จื้อจก คือ มีความรู้จักพอด้วยตนเอง 4. จี้อีเต๋า คือ มีเต๋าเป็นอุดมคติ 7.5 หลักความเชื่อและจุดหมายสูงสุด ปรัชญาเต๋าเชื่อว่าเต๋าเป็นธรรมชาติที่ศักดิ์สิทธิ์และเป็นพลังแห่งความดีงามสูงสุดทุกอย่าง เพราะฉะนั้นแต่ละคนควรมุ่งเข้าถึงเต๋าและใครที่สามารถเข้าถึงเต๋า ก็จะเป็นอมตบุคคล ก็อมต บุคคลอาจเรียกได้หลายอย่าง เช่น สัตยบุคคลบ้าง ฤาษีบ้าง เทพเจ้าบ้าง ผู้วิเศษบ้าง อมตบุคคลมี 2 แบบ คืออมตบุคคลป่า และอมตบุคคลบ้าน คือ ฤาษีที่หลีกหนีจากสังคมอยู่ตามป่าเขา ลำเนาไพร หาความวิเวกมีเต๋าเป็นจุดหมาย จวงจื้อ ได้กล่าวถึงฤาษีประเภทนี้ไว้ว่า 1 เสถียร โพธินันทะ, เมธีตะวันออก, 2514 หน้า 373-374 206 DOU ศ า ส น ศึ ก ษ า
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More