ข้อความต้นฉบับในหน้า
1. ยัป ซาฮิป
2. ยาปซาฮิป
3. สวาเย
4. โชไปอิ
5. อนันต์ซาฮิป
หลังจากสวดมนต์จบแล้ว ท่านทั้ง 5 จะนำน้ำนั้นมาให้ผู้เข้าพิธีรับน้ำอมฤตดื่ม ซึ่งผู้
เข้าพิธีเหล่านี้นั่งด้านหลังของท่านทั้ง 5 และหันหน้าไปทางพระคัมภีร์ครันถซาฮิป หลังจากที่
ดื่มน้ำแล้วในบางแห่งผู้เข้ารับพิธีจะต้องพูดว่า “คัลซาเป็นพระเจ้า ชัยชนะเป็นของพระองค์”
(คัลซาในที่นี้ หมายถึง ชาวซิกข์ ซึ่งนิยมใช้แทนกันเสมอ)
6.7.3 ประเพณีการเล่นดนตรีสวรรค์ (Kirtan)
ประเพณีนี้เป็นแบบอย่างหนึ่งของการแสดงออกซึ่งความเคารพในพระผู้เป็นเจ้า ซึ่ง
ชาวซิกข์นิยมสวดมนต์พร้อมกับมีดนตรีบรรเลงประกอบ และถือกันว่าเป็นดนตรีสวรรค์ที่จะ
ช่วยให้ผู้สวดได้มีจิตแนบแน่นกับพระผู้เป็นเจ้าได้รวดเร็วและดีขึ้น เครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงมี
ลักษณะเหมือน หีบสี่เหลี่ยม ซึ่งเราอาจจะเรียกว่า “หีบเพลง” ก็คงไม่ผิดกับลักษณะที่เป็นอยู่
การสวดมนต์ของซิกข์นั้นมีทั้งตอนเช้าก่อนรุ่งอรุณ และในตอนเย็นอันเป็นช่วงเวลา
ที่พระอาทิตย์กำลังลับขอบฟ้า การสวดมนต์ถือว่าเป็นกิจปฏิบัติที่ต้องกระทำทุกวัน
6.7.4 ประเพณีการโพกศรีษะ (Turban หรือ Dastar)
ชาวซิกข์มีลักษณะการแต่งกายแตกต่างจากชนกลุ่มอื่นในอินเดีย โดยดูจากการโพก
ผ้าบนศรีษะเป็นส่วนประกอบสำคัญในการแต่งกายที่มีประวัติความเป็นมายาวนานแล้ว นับตั้ง
แต่ศาสนาซิกข์ได้ก่อกำเนิดมาโดยพระบรมศาสดาคุรุนานักเทพ
ในถิ่นกำเนิดของชาวซิกข์ผ้าโพกศรีษะเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของนักบุญและนัก
ปราชญ์ทั้งหลายและเป็นส่วนประกอบของเครื่องแต่งกายของชนชาวเอเชียในอดีต ในภาษา
ปัญจาบีเรียก ผ้าโพกศรีษะว่า “ดัสตาร์” (Dastar) โดยทั่วไปผ้าโพกศรีษะจะมีความยาว 4.5 เมตร
หรือ 5 หลา มีความกว้างประมาณ 1.25 เมตร ผ้าที่ใช้นิยมผ้าฝ้ายเนื้อบาง แต่บางคนอาจจะ
ใช้ผ้าฝ้ายเนื้อหนาก็ได้ หรืออาจจะใช้ความยาวถึง 7 เมตร นอกจากนี้ยังมีผ้าโพกศรีษะขนาด
สั้นเรียกว่า “ดัสตาร่า” (Dastara) มีความยาวประมาณ 1.5-2 เมตร ใช้โพกศรีษะอยู่ใต้ผ้าที่
ศ า ส น า ชิ ก ข์ DOU 189