ข้อความต้นฉบับในหน้า
ขนท 6 นิษกรมณ์ พิธีนำเด็กออกไปดูแสงอาทิตย์ยามเช้า เมื่ออายุได้ 4 เดือน
อันนปราศัน พิธีป้อนข้าวเด็ก เมื่ออายุได้ 5 เดือนหรือ 6 เดือน
จูฑากรรม พิธีโกนผมไว้จุก เมื่ออายุได้ 3 ขวบ
ขั้นที่ 7
ขั้นที่ 8
ขั้นที่ 9
เกศานตกรรม พิธีตัดผม ถ้าเป็นวรรณะพราหมณ์ตัดเมื่ออายุ 16 ปี ถ้า
วรรณะกษัตริย์ ตัดเมื่ออายุ 22 ปี ถ้าวรรณะแพศย์ ตัดเมื่ออายุ 24 ปี
ขั้นที่ 10 อุปานยัน พิธีเข้ารับการศึกษา พวกวรรณะพราหมณ์ กษัตริย์ แพศย์ จะ
ต้องทำพิธีเข้ารับการศึกษา และเมื่ออาจารย์ในสำนักนั้นๆ รับเด็กไว้
แล้วก็จะสวมสายธุรำหรือยัชโญปวีต ผู้ที่ได้สวมสายนี้แล้วก็เรียกว่า ทวิช
หรือทิชาชาติ เกิด 2 ครั้ง คือครั้งแรกเกิดจากครรภ์มารดา และครั้งที่ 2
เกิดจากการสวมสายยัชโญปวีต ส่วนพวกศูทรและจัณฑาลเป็นเอกชาติ คือ
เกิดครั้งเดียวไม่อาจเป็นทิชาชาติได้
ขนที่ 11
สมาวรรตน์ พิธีกลับบ้าน จัดขึ้นเมื่อเด็กหนุ่มสำเร็จการศึกษาและเตรียม
ตัวกลับบ้าน
ขั้นที่ 12 วิวาทะ พิธีแต่งงาน
พิธีสังสการทั้ง 12 ประการดังกล่าวนี้ ถ้าเป็นหญิงห้ามทำพิธีอุปานยันอย่างเดียว
นอกนั้นทำได้หมด และห้ามสวดคัมภีร์พระเวท เพราะเป็นคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ที่สงวนเฉพาะผู้ชาย
และคนบางวรรณะเท่านั้น ในปัจจุบันนี้ชาวฮินดูผู้เป็นทวิชาติคงปฏิบัติอยู่ใน 4 พิธีเท่านั้น คือ
พิธีนามกรรม พิธีอันนปราศัน พิธีอุปานยัน และพิธีวิวาหะ ที่เหลือกนอกนั้นไม่ใคร่ปฏิบัติกันแล้ว
ยกเว้นผู้ที่เคร่งครัดจริงๆ เท่านั้น
3.8.3 พิธีศราทธ์ พิธีทำบุญอุทิศให้มารดาบิดา หรือบรรพบุรุษผู้ล่วงลับไปแล้ว ในเดือน
10 ตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ ถึงวันแรม 15 ค่ำ โดยมีลักษณะและขั้นตอนดังต่อไปนี้
1. การบูชากระทำด้วยข้าวบิณฑ์ คือก้อนข้าวสุก โดยให้บุตรชายของผู้ตายเป็นผู้
กระทำพิธีบวงสรวงบูชา เพราะมีความเชื่อว่าบุตรชายช่วยให้ผู้ที่ล่วงลับพ้นจากนรกขุม “ปุตตะ”
โดยกระทำก่อนวันนำศพไปเผา และกระทำตลอดไป 10 วัน หรือ 11 วัน และวันที่ 11 นั้น
เป็นการรวมญาติ โดยญาติฝ่ายบิดาและญาติฝ่ายมารดาซึ่งนับขึ้นไป 3 ชั่วคน และนับลงมา 3
ชั่วคน เข้าร่วมพิธีด้วย เรียกว่า สปิณฑะ แปลว่า ร่วมทำพิธีข้าวบิณฑ์
2. การทำบุญอุทิศให้มารดาบิดา หรือบรรพบุรุษผู้ล่วงลับไปแล้ว ต้องทำไปเดือน
ละครั้งเป็นอย่างน้อยตลอดปี
ศ า ส น า พ ร า ห ม ณ์ - ฮินดู DOU 83