ข้อความต้นฉบับในหน้า
2) คฤหยสูตร ได้แก่ สูตรว่าด้วยพิธีเกี่ยวกับครอบครัว เช่น การขึ้นบ้านใหม่
การแต่งงาน เป็นต้น
3) ธรรมสูตร ได้แก่ สูตรว่าด้วยกฎหมาย และข้อบังคับเกี่ยวกับความ
ประพฤติข้อวัตรปฏิบัติของชนชั้นต่าง ๆ และระยะวัยของบุคคลที่เรียกว่า
อาศรมธรรม 4 คือ พรหมจารี คฤหัสถ์ วานปรัสถ์ และสันยาสี ธรรม
สูตรนี้ได้มีการเขียนขึ้นประมาณปีที่ 600 ถึง 200 ก่อนคริสต์ศักราช
คัมภีร์ธรรมศาสตร์ ได้แก่ ตำราอธิบายลักษณะกฎหมายของบ้านเมือง เพื่อ
วางระเบียบความประพฤติของประชาชน และสังคม โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อความเจริญของ
สังคมฮินดู ดังนั้น ชื่อของผู้ให้กำเนิดกฎหมาย คือ มนู ยาชญวัลกยะ และปราศระ เป็นชื่อ
อมตะ ในโลกของกฎหมาย
7.
8.
คัมภีร์นิติศาสตร์ ได้แก่ ตำราอธิบายลักษณะการกระทำ จรรยา ความ
ประพฤติของบุคคลและที่เกี่ยวกับสังคม
9.
คัมภีร์อิติหาส คือคัมภีร์ว่าด้วยวีรกรรมของวีรบุรุษ อันได้แก่ มหากาพย์ทั้งสอง
คือ รามายณะ หรือ รามเกียรติ์ กับ มหาภารตะ ซึ่งเป็นตัวอย่างแสดงผลของการประพฤติ
ธรรมตามแนวคัมภีร์ธรรมศาสตร์
10. คัมภีร์ปุราณะและอุปปุราณะ เป็นคัมภีร์ที่ว่าด้วยเทพองค์หนึ่ง ๆ โดยเฉพาะ
กลุ่มใดนับถือเทพองค์ใดเป็นพิเศษจะมีศรัทธาต่อเรื่องนั้น ๆ เป็นพิเศษ ซึ่งจุดประสงค์ของ
คัมภีร์นี้ก็คือ การสอนศาสนาแก่ประชาชนโดยเล่าเรื่องเทพนิยาย นิทาน และพงศาวดารต่างๆ
เป็นคัมภีร์ที่รู้จักกันดีที่สุดในกลุ่มชาวบ้านทั่วไป ดังมีรายละเอียดของคัมภีร์ดังนี้
คัมภีร์ปุราณะ 18 เรื่อง คือ
7. กฤษณะ
8. ศิวะ
3. อัณฑะของพรหม 9. ศิวลึงค์
1. พระพรหม
2. ดอกบัว
4. ไฟ
10.นารทิยะ
5. วิษณุ
11.คเณศวร
6. ครุฑ
13.ภวิษยัต
14. ปางปลาของพระวิษณุนารายณ์
15.ปางสุกรของพระวิษณุนารายณ์
16.ปางเต่าของพระวิษณุนารายณ์
17.ปางพราหมณ์เตี้ยของพระวิษณุนารายณ์
12.มารกันเทียะ 18.ภาควัดหรือพระวิษณุนารายณ์อวตาร
ศ า ส น า พ ร า ห ม ณ์ - ฮินดู
DOU 73