ประวัติศาสดาผู้ก่อตั้งศาสนาซิกข์ DF 404 ศาสนศึกษา หน้า 190
หน้าที่ 190 / 481

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาเกี่ยวกับศาสดาองค์ต่างๆ ของศาสนาซิกข์ โดยเฉพาะการสืบทอดความรู้และการจัดระบบการปกครองของคุรุโควินทสิงห์ รวมถึงการสร้างความกล้าหาญในชาวซิกข์และการเผยแพร่คำสอนที่สืบทอดจากคุรุนานักและคุรุองค์ที่ 9 เพื่อให้ชาวซิกข์มีเอกลักษณ์และสามารถต่อสู้กับศัตรูได้ นอกจากนี้ยังกล่าวถึงความสำคัญของธรรมและอำนาจในการจัดการร่วมกัน

หัวข้อประเด็น

-ประวัติศาสดาซิกข์
-คำสอนของคุรุนานัก
-คนที่มีอำนาจในศาสนาซิกข์
-ความสำคัญของศาสดาคุรุโควินทสิงห์
-การพัฒนาศาสนาซิกข์ในประวัติศาสตร์

ข้อความต้นฉบับในหน้า

นั้นจึงได้นำศูทรคนหนึ่งชื่อ ชัจจ์ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันว่าโง่เขลาเป็นที่สุดมาให้ คุรุหริกริซันได้ใช้ไม้ เท้าของท่านแตะที่ตัวศูทรคนนั้นแล้วพูดว่า ชัจจ์ เจ้าจงเป็นบัณฑิตจงเป็นผู้เชี่ยวชาญในการ แปลภควัทคีตา จงตอบคำถามของพราหมณ์ผู้นี้ เป็นที่น่าอัศจรรย์ว่าชัจจ์กลายเป็นบัณฑิต เฉลียวฉลาดขึ้นมาทันทีโต้ตอบกับพราหมณ์ได้เป็นอย่างดี คุรุเตฆบาหาทร (พ.ศ. 2164-2218) ศาสดาองค์ที่ 9 ท่านได้ออกเผยแพร่ศาสนาทั่ว ทุกภาคในอินเดียเจริญรอยตามคุรุนานัก ทั้งได้ช่วยหย่าศึกทัพหลวงจากกรุงเดลฮีกับทัพของ ราชาธิบดีรามรัยแห่งไทยอาหม (พ.ศ. 2212) ได้สำเร็จ แต่บั้นปลายถูกพระเจ้าออรังเซบจับ ประหารชีวิต คุรุโควินทสิงห์ (พ.ศ. 2209-2251) ศาสดาองค์ที่ 10 ซึ่งเป็นบุตรชายของคุรุองค์ที่ 9 ท่านเป็นศาสดาเมื่ออายุได้ 9 ปี ศาสดาผู้นี้ได้รับการศึกษาอย่างดีรู้หลายภาษา เช่น ภาษาอังกฤษ สันสกฤต และเปอร์เซีย เป็นต้น ท่านเป็นกวี เป็นนักรบและนักปกครอง อย่างเช่นท่านได้ จัดระบบป้องกันเมืองอานันทปุระจากการถูกโจมตีได้สำเร็จ ท่านได้ปฏิวัติจิตใจชาวซิกข์ให้ กล้าหาญทั้งได้บัญญัติกฎระเบียบให้ชาวซิกข์ปฏิบัติ เช่น ไม่ให้โกนผมโกนหนวดเคราตลอดชีวิต เป็นต้น จะได้ แตกต่างจากคนทั่วไป จะทำให้ชาวซิกข์ผนึกกำลังต่อสู้กับศัตรู และช่วยเหลือ ซึ่งกันและกันคุรุ โควินทสิงห์ สอนว่าอำนาจและธรรมเป็นของคู่กัน หากมีแต่ธรรมไม่มีอำนาจ รองรับก็ไม่มีประสิทธิผล ขาดการป้องกันรักษา และอำนาจที่ปราศจากธรรมก็เป็นทารุณกรรม นอกจากนี้ท่านยังได้แต่งคัมภีร์ขึ้นอีกคัมภีร์หนึ่ง โดยรวบรวมคำสอนของคุรุที่ผ่านมาบางท่าน และของท่านเองเข้าด้วยกัน เรียกว่าคัมภีร์ทสมครัมถ์ ศาสดาองค์นี้เป็นองค์สุดท้ายเพราะก่อน สิ้นชีวิต ท่านไม่ได้แต่งตั้งใครแทน โดยให้คัมภีร์ ครัมถสาหีบเป็นศาสดาแทน และหลังจาก คุรุองค์ที่ 10 แล้ว ศาสนาซิกข์ก็เจริญบ้างเสื่อมบ้างตามแต่ผู้มีอำนาจในบ้านเมืองจะพึงเห็นอย่างไร แต่ส่วนใหญ่ก็ค่อยเจริญมาตามลำดับ จนมีศาสนิกมากกว่าศาสนิกศาสนาเชน และโซโรอัสเตอร์ รวมกันเสียอีกด้วย 6.2 ประวัติศาสดา 6.2.1 ชาติกำเนิดและปฐมวัย ผู้ให้กำเนิดศาสนาซิกข์ คือ คุรุนานัก นานักเกิด ณ หมู่บ้านตัลวันที่ (Talvandi) ซึ่ง เป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ ปัจจุบันเรียกว่า “นังกานา สาทิพ” ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้เมืองละฮอร์ Sikh Missionary. Sikh Religion, 1990 p. 7-10. ศ า ส น า ชิ ก ข์ DOU 175
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More