ข้อความต้นฉบับในหน้า
3. เนื้อหาที่แสดงมารยาททางสังคม เช่น การกินดื่ม การร่วมประชุม และการ
เข้าศาสนสถาน (มัสยิด) เป็นต้น ดังเช่น ใน อัล ฮะดิส ตอนหนึ่งกล่าวว่า “อาหารที่เลวที่สุด คือ
อาหารในการเลี้ยงที่เชิญแต่คนมั่งมีและคนยากจนถูกละเลย”
4. เนื้อหาที่แนะนำให้สำรวมตนเพื่อมิให้ต้องรับโทษทางศาสนา ดังที่ท่าน
นบีมุฮัมมัดได้กล่าวว่า “บุคคลสองจำพวกที่ไม่ได้รับความเอ็นดูในวันกิยามะห์ (วันฟื้นคืนชีพ)
คือคนที่ตัดญาติขาดมิตร และเพื่อนบ้านที่เลว”
5.
เนื้อหาที่แนะนำให้พัฒนาคุณธรรมให้เกิดขึ้นในตนเพื่อจะได้รับพรจากพระเจ้า
เช่น ที่ท่านนบีมุฮัมมัดสอนว่า “ผู้ใดกระทำให้พ่อแม่มีความยินดี แท้จริงได้ชื่อว่า ทำให้อัลลอฮ์
ยินดีด้วย และผู้ใดทำให้พ่อแม่โกรธ แท้จริงหมายถึง ทำให้อัลลอฮ์โกรธด้วย”
แนวการประพฤติปฏิบัติที่บัญญัติไว้ในพระคัมภีร์อัลกุรอานและในอัล ฮะดิส นั้น แบ่ง
ได้เป็น 5 ประเภท คือ
1) วาญิบ (ภารกิจ) หมายถึง การปฏิบัติที่ผู้ปฏิบัติจะได้รับรางวัล และจะถูก
ลงโทษหากละทิ้ง เช่น การควบคุมจิตใจให้มีคุณธรรมและบริสุทธิ์ เป็นวาญิบ
2) ซุนนะห์ (อดิเรกกิจ) หมายถึง การปฏิบัติที่ผู้ปฏิบัติจะได้รับรางวัล และไม่
ถูกทำโทษหากละทิ้ง เช่น การอ่านพระคัมภีร์อัลกุรอาน เป็นซุนนะห์
3) ฮะรอม (โทษกิจ) หมายถึง การปฏิบัติที่ผู้ปฏิบัติจะถูกลงโทษ และจะได้รับ
รางวัลหากงดเว้น เช่น การเสพสุรา เป็นฮะรอม
4) ญาอิช (อนุโลมกิจ) หมายถึง การปฏิบัติที่ผู้ปฏิบัติไม่ได้รับรางวัล หรือไม่ถูก
ลงโทษหากงดเว้น เช่น การสมรส
5) มักรูห์ (วัชชกิจ) หมายถึง การปฏิบัติที่ผู้ปฏิบัติได้รับรางวัลเมื่องดเว้น และ
ไม่ถูกลงโทษหากจะปฏิบัติ เช่น การสูบบุหรี่
13.6 หลักคำสอนที่สำคัญ
หลักการของอิสลาม แบ่งออกเป็นส่วนใหญ่ ๆ ได้ 2 ส่วน คือ
13.6.1
หลักการอันเป็นข้อบังคับสำหรับบุคคล (ฟัรดูอัยนีย์)
ได้แก่ หลักการพื้นฐานอันจำเป็นสำหรับมุสลิมทุกคนจะต้องรู้ ต้องประพฤติ เริ่มตั้งแต่อายุ
3 ขวบเป็นต้นไป แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้
390 DOU ศาสนศึกษา