การถือศีลอดและการฝึกจิตใจ DF 404 ศาสนศึกษา หน้า 417
หน้าที่ 417 / 481

สรุปเนื้อหา

การถือศีลอดในเดือนรอมะฎอนเป็นวิธีลดโทษและสร้างความสะอาดให้กับจิตใจ ทำให้พัฒนานิสัยที่ดี รวมถึงการจัดการอารมณ์และการส่งเสริมการทำบุญ นอกจากนี้ ยังช่วยเสริมสร้างพลังกายและจิตใจให้มีประสิทธิภาพต่อการทำงานและการใช้ชีวิตได้ดีขึ้น โดยรวมแล้วคือวิธีการบริหารจัดการทั้งร่างกายและจิตใจให้ดีอยู่เสมอ สำหรับการหนึ่งเดือนของการถือศีลอดนั้นมีข้อกำหนดหลายประการ ได้แก่ การงดเว้นจากอาหารและน้ำ ตลอดจนการมีเพศสัมพันธ์ การสำรวมจิตใจและการกระทำที่ไม่ดี ในขณะเดียวกันยังควรทำนมัสการพระเจ้าให้มากขึ้น และทำความดีแก่ผู้อื่น เป็นการฝึกปฏิบัติที่จะช่วยให้ผู้ถือศีลอดเข้าถึงความสงบและความเข้าใจในศาสนามากยิ่งขึ้น หรือที่เรียกว่า “อิตติกาฟ” ซึ่งคือการนั่งสงบจิตในมัสยิดในช่วงเวลาเหล่านี้เพื่อเสริมสร้างพลังจิต

หัวข้อประเด็น

-การชำระจิตใจ
-การฝึกสมาธิ
-การถือศีลอด
-การพัฒนานิสัยดี
-การสร้างความสงบในชีวิต

ข้อความต้นฉบับในหน้า

1. เป็นการชำระจิตใจให้สะอาดบริสุทธิ์อยู่ตลอดเวลา 2. เป็นการฝึกสมาธิและสร้างพลังจิตใจให้แข้มแข็ง 3. เป็นการช่วยแก้ปัญหาชีวิต (ระงับความทุกข์ใจ) ได้โดยทำจิตใจให้สงบ 4. เป็นการปลูกฝังนิสัยที่ดีหลายประการ เช่น ตรงต่อเวลา มีวินัย มีความรับผิดชอบ มีความอดทน การเอาชนะใจตัวเอง สร้างความสะอาดและความสามัคคี 5. 6. 7. เป็นวิธีการบริหารร่างกายทางอ้อม เป็นการสร้างพลังกายให้เข้มแข็งเพื่อสามารถต่อต้านโรคภัยได้เป็นอย่างดี เป็นการลดความตึงเครียดในหน้าที่การงานเพื่อดำเนินงานต่อไปอีกอย่างมี ประสิทธิภาพยิ่งขึ้น 3) การถือศีลอด การถือศีลอด คือ งดเว้นจากการกระทำต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ตั้งแต่แสงอรุณขึ้นจนถึง ตะวันตกในเดือนรอมะฎอน (เดือนที่ 9 ของ ฮิจเราะห์ศักราช) เป็นเวลา 1 เดือน คือ 1. 2. 3. 4. งดการกินและการดื่ม งดการมีเพศสัมพันธ์ งดการใช้วัตถุภายนอกเข้าไปในอวัยวะภายใน งดการแสดงอารมณ์ร้ายและความผิดต่างๆ พร้อมทั้งกระทำในสิ่งต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ 1. ทำนมัสการพระเจ้าให้มากกว่าวันธรรมดาถ้าเป็นการถือศีลรอมะฎอนให้ทำ ละหมาดตะรอวีห์จำนวน 20 ร็อกอะฮ์ 2. อ่านคัมภีร์อัลกุรอานให้มาก 3. สำรวมอารมณ์และจิตใจให้ดี 4. ทำทานแก่ผู้ยากไร้และบริจาคเพื่อการกุศล 5. 6. กล่าว “ซิกิร” อันเป็นบทรำลึกถึงพระเจ้า ให้นั่งสงบสติสงบจิต “อิตติกาฟ” ในมัสยิด 402 DOU ศ า ส น ศึ ก ษ า
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More