ข้อความต้นฉบับในหน้า
(Sermon on the Mount) ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นแถลงการณ์ฉบับแรกของพระเยซูที่ประกาศ
โครงการปฏิรูปแนวทางดำเนินชีวิตของมนุษย์ และเชื่อกันว่าเทศนา บทนี้เป็นตอนที่ไพเราะ
ที่สุดในงานนิพนธ์ของนักบุญมัทธิว
สำหรับพระวรสารของนักบุญมาระโกหรือมาร์ค (Mark) นั้น มีเนื้อหาที่เน้น
เฉพาะการเป็นพระเมสสิอาห์ของพระเยซูมากกว่าเน้นเสนอคำสอน
ส่วนพระวรสารฉบับของนักบุญลูกาหรือลุค (Luke) เป็นพระวรสารที่เน้นเฉพาะใน
เรื่องคำสอนของพระเยซู แต่มีการจัดลำดับเหตุการณ์ต่าง ๆ ตามแบบพระวรสารของนักบุญมัทธิว
พระวรสารทั้งสามเล่มข้างต้นที่กล่าวมานี้มีเนื้อหาที่คล้ายคลึงกันมาก ซึ่งต่างจาก
พระวรสารของนักบุญยอห์นที่มีเนื้อหาบางส่วนเป็นลักษณะเฉพาะ และไม่ปรากฏใน
พระวรสารเล่มอื่นๆ เพราะเหตุว่าท่านเป็นบุคคลที่ใกล้ชิดพระเยซูมากที่สุด และมีส่วนร่วมใน
ชีวิตของพระเยซูมาโดยตลอด จึงได้รับรู้ในสัจธรรมต่าง ๆ มากมาย
พระวรสารของนักบุญยอห์นนี้มีเนื้อหาเน้นหนักการประกาศว่า พระเยซูเป็น
พระเมสสิอาห์หรือพระคริสต์ เพื่อมาไถ่บาปมนุษย์ด้วยการรับทรมานต่างๆ จนต่อมาได้กลับ
คืนชีพ และได้ส่งสาวกออกไปประกาศคำสอนพร้อมด้วยพระจิตของพระเจ้าและอำนาจในการ
ยกบาป นักบุญยอห์นจึงเป็นพยานสำคัญที่ยืนยันความเป็นพระเมสสิอาห์ของพระเยซูเจ้า
นอกจากนี้ พระวรสารเล่มนี้ยังกล่าวถึงพิธีกรรมและศีลศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่ง
ในภารกิจของพระเยซู เช่น ศีลล้างบาป ศีลมหาสนิท และศีลอภัยบาป ศีลศักดิ์สิทธิ์เหล่านี้
ต่อมาได้กลายเป็นพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์ของศาสนาคริสต์
หนังสือกิจการของอัครทูต (The Acts of the Apostles)
หนังสือเล่มนี้ได้กล่าวถึงการเผยแพร่ธรรมของอัครสาวก หลังจากที่พระเจ้าได้รับ
พระเยซูขึ้นสู่สวรรค์ การเผยแพร่ธรรมนี้อัครทูตได้ทำการอัศจรรย์หลายอย่างในหมู่ประชาชน
ทั้งนี้เพราะท่านเหล่านั้นได้รับมอบอำนาจนี้จากพระเจ้าและพระบุตรของพระองค์ ทำให้มี
ผู้นับถือเลื่อมใสเป็นจำนวนมาก การเผยแพร่ศาสนาของอัครทูตหลายท่านเป็นไปอย่างเข้มแข็ง
และมั่นคงทำให้ฝ่ายที่เสียผลประโยชน์เกิดความขัดเคืองใจหาทางกลั่นแกล้งด้วยความอิจฉาริษยา
แม้นว่าหนังสือเล่มนี้ไม่ได้รายงานกิจการของอัครทูตทั้งหมด แต่ก็ทำให้เราเห็นถึงความตั้งใจ
มั่นและความเด็ดเดี่ยวของท่านเหล่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเซนต์ปอลและเซนต์ปีเตอร์มีส่วน
ทำให้คริสต์ศาสนาได้แพร่หลายออกไปจนถึงต่างแดนทำให้ไม่ได้ถูกจำกัดเฉพาะชนชาติยิวเท่านั้น
ศ า ส น า คริสต์ DOU 349