ข้อความต้นฉบับในหน้า
ขงจื้อก็ช่วยเหลือแก้ไขการปกครองของแคว้นนั้นๆ เรื่อยไป ได้พยายามท่องเที่ยวสั่งสอนคนอยู่
อย่างนี้เป็นเวลากว่า 10 ปี จึงกลับเข้าไปอยู่ในแคว้นลู่ตามเดิม ทางแคว้นลู่ขอร้องให้ขงจื้อเข้า
รับราชการอีก แต่ขงจื๊อปฏิเสธ เพราะต้องการจะใช้เวลาสั่งสอนคนและในบั้นปลายชีวิตต้องใช้
เวลารวบรวมคำสอนของตนขึ้นเป็นตำรา และปรับปรุงแก้ไขตำราเก่าๆ ที่เคยสอนแต่งไว้ให้ดีขึ้น
8.2.4 บั้นปลายชีวิต
เมื่ออายุ 69 ปี ขงจื้อได้รวบรวมคำสอนของตนขึ้นเป็นตำรา มีวิชาปรัชญา วิชา
กาพย์กลอน วิทยาศาสตร์ วิชายิงธนู ประวัติศาสตร์ และวิชาดนตรี ด้วยวิชาเหล่านี้เป็นวิชาที่
ขงจื้อเคยสอนมาทั้งหมด ขงจื้อไม่ส่งเสริมการกระทำใดๆ ที่
ๆ ที่ฟุ่มเฟือยศิษย์ที่ขงจื้อพอใจมากที่สุดคือ
ศิษย์ที่มีวิชาหนังสือดีและยิงธนูดี
ขงจื้อถึงแก่กรรมด้วยอารมณ์ไม่สู้ราบรื่นนัก เมื่ออายุ 73 ปี ในปี 479 ก่อน ค.ศ.
ก่อนสิ้นชีพขงจื้อพูดว่า “คนที่น่ากลัวที่สุดคือ เสนาบดีผู้ทรยศ และลูกที่ไม่เชื่อฟัง” และเมื่อ
ใกล้จะหมดลมหายใจได้กล่าวไว้เป็นคติแห่งชีวิตว่า “ขุนเขาจะต้องสลายไป เสาหลักอัน
แข็งแกร่งก็จะหักสะบั้นลงไป ชีวิตของนักปราชญ์ก็ร่วงโรยไปเหมือนรุกขชาติ ในอาณาจักรนี้
ไม่มีใครเชื่อฟังเรา เวลาของเรามาถึงแล้ว”
หลังจากที่ขงจื้อล่วงลับไปแล้ว บรรดาผู้เลื่อมใสได้พากันรวบรวมคำสอนและ
หนังสือที่ขงจื๊อแต่งไว้เป็นหลักวิชาทางรัฐศาสตร์และศาสนา กลายเป็นคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์และมีค่า
สูง นอกจากนี้ศิษยานุศิษย์ของขงจื้อได้ช่วยกันเผยแพร่หลักจริยธรรมของขงจื้อเป็นการใหญ่
พร้อมทั้งเผยแพร่คุณงามความดีของขงจื้อด้วย จนในที่สุดต่อมาขงจื้อก็ได้รับสมญานามว่าเป็น
ศาสดาองค์หนึ่ง และคำสอนของขงจื้อก็เลื่อนฐานะเป็นศาสนาขึ้นมา ดังปรากฏประจักษ์อยู่ทุก
วันนี้
8.3 คัมภีร์ในศาสนา
คัมภีร์หลักคำสอนของขงจื้อ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ เป็นข้อเขียนของขงจื้อโดยตรง
เรียกว่า เก็ง หรือ กิ่งทั้ง 5 หมายถึงวรรณคดีชั้นสูงทั้ง 5 กับข้อเขียนที่ศิษย์ของขงจื้อเรียบเรียง
ขึ้นในลักษณะเป็นประมวลคำกล่าวของขงจื้อและแสดงหลักคำสอนเรียกว่า ซู หรือ ตำราทั้ง 4
ดังต่อไปนี้
เสถียร โพธินันทะ, เมธีตะวันออก, 2514 หน้า 85-88.
224 DOU ศาสนศึกษา