ข้อความต้นฉบับในหน้า
ได้จัดพิมพ์เป็นหนังสือ 45 เล่ม โดยแบ่งแยกออกเป็นอังคะ 11 เล่ม เป็นฤทธิวาท 1 เล่ม เป็น
อุปางคะ 11 เล่ม เป็นมูลสูตร 4 เล่ม เป็นเจตสูตร 6 เล่ม เป็นคูสิกะสูตร 2 เล่ม เป็นปกัณกะ 10
เล่ม ตามหลักฐานปรากฏว่าได้จารึกคัมภีร์อาคมะเป็นอักษรปรากฤตประมาณ 200 ปี ภายหลัง
สมัยของพระมหาวีระผู้เป็นศาสนา ส่วนคำอธิบายคัมภีร์ที่เรียกว่า อรรถกถา และวรรณคดีของ
เชนในสมัยต่อมา ล้วนเป็นภาษาสันสกฤต ซึ่งในปัจจุบันนี้คัมภีร์อาคมะมีการถ่ายทอดสู่ภาษา
พื้นเมือง และภาษาอื่นมากมายพอสมควร
4.4 หลักคำสอนที่สำคัญ
หลักคำสอนที่สำคัญของศาสนาเชน แบ่งออกเป็นหลักใหญ่ๆ ได้ 3 หลัก คือ
4.4.1 หลักธรรมขั้นพื้นฐาน ได้แก่ หลักอนุพรต 5 (ศีล 5)
1. อหิงสา การไม่เบียดเบียน ไม่ทำลายชีวิต อนุพรตข้อนี้ถือว่าเป็นยอดของศีล
ธรรมศาสนาเชนเลยทีเดียว
2. สัตยะ พูดความจริง ไม่พูดเท็จ ไม่ว่าด้วยเหตุผลหรือข้ออ้างใด ๆ ไม่ได้
3. อัสเตยะ ไม่ลักขโมย รวมทั้งไม่หลบเลี่ยงภาษีอากร ไม่ใช้หรือทำเงินปลอม และ
ไม่โกงเครื่องชั่งตวง
4. พรหมจรยะ อย่างต่ำคือการไม่ประพฤติผิดในกาม
5. อปริครหะ การไม่โลภ ไม่ควรมีข้าวของมากเกินจำเป็น
อนุพรตทั้ง 5 นี้ ถ้าเป็นนักบวชจะปฏิบัติเคร่งครัดมาก แต่ถ้าเป็นคฤหัสถ์ก็จะลด
หย่อนผ่อนคลายลงพอสมควร
กลุ่มดังนี้
สำหรับอนุพรตในข้อ 1 คือ อหิงสา มีรายละเอียดในการแบ่งชั้นของสัตว์ออกเป็น 5
1) กลุ่มที่มีประสาทหรืออินทรีย์ 5 ได้แก่ ประสาทตา ประสาทหู ประสาทจมูก
ประสาทลิ้น และประสาทกาย ได้แก่ พวกเทวดา สัตว์นรก มนุษย์ และสัตว์อื่นๆ บางชนิด เช่น
ลิง วัว ควาย ช้าง ม้า นกแก้ว นกพิราบ และงู ถือว่าพวกเหล่านี้มีพุทธิปัญญาอยู่ด้วย
* ประทีป สาวาโย, สิบเอ็ดศาสนาของโลก, 2545 หน้า 113-115.
ศาสนาเชน
DOU 105