ข้อความต้นฉบับในหน้า
อเทวนิยม
กาลต่อมามนุษย์บางคนมีความเห็นว่า พระเจ้าสูงสุดดังที่เชื่อกันนั้นไม่มี เป็นเพียงมนุษย์
คิดกันขึ้นมาเอง เห็นได้จากการที่คุณลักษณะต่าง ๆ ของเทพเจ้า ได้เปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ และ
เพิ่มมากขึ้นทุกที ทั้งนี้ก็เพราะมนุษยเป็นต้นเหตุ แล้วก็หลงเคารพนับถือในสิ่งที่ตนสร้างขึ้นมา
ความจริงทุกสิ่งทุกอย่างเป็นไปตามเหตุปัจจัย จะเกิดขึ้นได้ก็เพราะเหตุปัจจัยหลายอย่าง
ประกอบกันขึ้นมา ดำรงอยู่ไม่ได้ด้วยตัวเอง สำหรับมนุษย์แล้ว กรรมหรือการกระทำของมนุษย์
ต่างหากที่สำคัญที่สุด สามารถดลบันดาลชีวิตให้เป็นไปอย่างไรก็ได้ ความเชื่ออย่างนี้เรียกว่า
อเทวนิยม
1.5 มูลเหตุการเกิดของศาสนา
มูลเหตุที่ทำให้เกิดศาสนานั้นมีมากมายหลายอย่าง แล้วแต่สภาพแวดล้อมของแต่ละกลุ่ม
ชนและยุคสมัย ซึ่งนักการศาสนาได้ตั้งข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับมูลเหตุที่ทำให้เกิดศาสนา ดังนี้
1. เกิดจากอวิชชา อวิชชาในที่นี้ หมายถึง ความไม่รู้หรือความเข้าใจไม่แจ่มแจ้ง เช่น
ไม่เข้าใจในปรากฏการณ์ธรรมชาติรอบตัวว่า เหตุใดจึงเกิดฟ้าแลบ ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า หรือฝนตก
เมื่อไม่รู้ไม่เข้าใจ จึงหาคำตอบออกมาในลักษณะต่าง ๆ เช่น เข้าใจว่าฟ้าแลบเนื่องจากนางมณี-
เมขลาเอาแก้วมาล่อรามสูร และฟ้าผ่าเพราะรามสูรขว้างขวานไปถูกแก้วแตก ดังนี้เป็นต้น เมื่อ
มนุษย์ไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงของปรากฏการณ์ในธรรมชาติ จึงพากันคิดว่าจะต้องมีสิ่งเหนือ
ธรรมชาติอาจเป็นเทพยดา หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ที่มีอำนาจเหนือมนุษย์ จึงมีการบูชาบวงสรวง
อ้อนวอนให้เมตตาปราณี ความคิดเช่นนี้จึงเป็นมูลเหตุทำให้เกิดศาสนาขึ้นซึ่งศาสนาของคน
โบราณจึงมีมูลเหตุมาจากอวิชชา หรือความไม่รู้
2. เกิดจากความกลัว ความกลัวเป็นมูลเหตุอีกประการหนึ่งที่ทำให้เกิดศาสนาและเป็น
มูลเหตุที่ต่อเนื่องจากอวิชชา กล่าวคือ เมื่อเกิดความไม่รู้หรือไม่เข้าใจแจ่มแจ้งขึ้น สิ่งที่ตามมาก็
คือ ความกลัว คือกลัวในสิ่งที่ตนไม่รู้ไม่เข้าใจนั้น เมื่อเกิดความกลัวจึงคิดหาทางเอาอกเอาใจ
ในสิ่งนั้น ในรูปของการเคารพกราบไหว้ เซ่นสรวงบูชา ตลอดจนบนบานศาลกล่าว เพื่อไม่ให้
บันดาลภัยพิบัติแก่ตน แต่ให้บันดาลความสุขสวัสดีมาให้แก่ตน เป็นต้น ความกลัวจึงเป็น
มูลเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดศาสนาขึ้น
3. เกิดจากความภักดี ความภักดีในทางศาสนา หมายถึง ความเชื่อและความเลื่อมใส
ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับศาสนา DOU 11