การแบ่งวรรณะในสังคมฮินดูและผลกระทบต่อชนกลุ่มต่างๆ DF 404 ศาสนศึกษา หน้า 67
หน้าที่ 67 / 481

สรุปเนื้อหา

บทความนี้สำรวจระบบการแบ่งวรรณะในสังคมฮินดูที่มีความเชื่อมโยงกับข้อความในคัมภีร์พระเวท โดยแบ่งออกเป็น 4 วรรณะหลัก ได้แก่ พราหมณ์ กษัตริย์ แพศย์ และศูทร สังคมในสมัยพระเวทมีการปรับเปลี่ยน และในปัจจุบันประเมินว่ามีสัดส่วนของวรรณศูทรมากที่สุด ผู้ที่อยู่นอกวรรณะถูกมองว่าเป็นจัณฑาลซึ่งถูกมองว่าเป็นชนชั้นต่ำ การแบ่งแยกนี้ได้ส่งผลกระทบต่อสิทธิและโอกาสในการทำงานของชนกลุ่มต่างๆในสังคมอินเดีย.

หัวข้อประเด็น

- การแบ่งวรรณะในอินเดีย
- ความหมายของแต่ละวรรณะ
- สัดส่วนประชากรในปัจจุบัน
- จัณฑาลและชนกลุ่มนอกวรรณะ
- ผลกระทบต่อสังคมและอาชีพ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

พื้นเมืองเดิมกับพวกผิวขาว ได้แก่พวกอารยันที่เข้ามารุกรานและตั้งถิ่นฐานในอินเดียในยุค พระเวทตอนต้น ซึ่งในเวลาต่อมาได้แบ่งออกเป็น 4 วรรณะ คือ 1. วรรณะพราหมณ์ มีหน้าที่ติดต่อกับเทพเจ้า สั่งสอนศาสนาและประกอบพิธีกรรมแก่ ประชาชนทุกวรรณะ นอกจากนี้ยังมีหน้าที่ศึกษาจดจำและสืบต่อคัมภีร์พระเวท และเป็น ปุโรหิตให้แก่กษัตริย์ พวกพราหมณ์ถือว่าพวกตนเป็นวรรณะสูงสุดในสังคม เพราะเกิดจาก พระโอษฐ์ของพระผู้เป็นเจ้าตามที่อ้างไว้ในคัมภีร์พระเวท 2. วรรณะกษัตริย์ ได้แก่พวกนักรบ ทำหน้าที่ป้องกันชาติบ้านเมืองและทำศึกสงคราม ขยายเขตแดน ในคัมภีร์ฤคเวทกล่าวว่าวรรณะกษัตริย์เกิดจากพระพาหา (แขน) ของพระผู้ เป็นเจ้า 3. วรรณะแพศย์ เป็นวรรณะของคนส่วนใหญ่ในสังคม ได้แก่ผู้ประกอบพาณิชยกรรม เกษตรกรรม และศิลปหัตถกรรมต่าง ๆ วรรณะแพศย์เกิดจากพระโสณี (ตะโพก) ของพระผู้เป็นเจ้า 4. วรรณะศูทร เป็นวรรณะของพวกกรรมกร ผู้ทำงานรับจ้างที่ต้องใช้แรงงานแบกหาม หรือให้บริการแก่วรรณะอื่น ๆ วรรณะศูทรถือเป็นวรรณะต่ำสุด เพราะเกิดจากพระบาทของ พระผู้เป็นเจ้า ในสมัยพระเวท คนในสังคมส่วนใหญ่จะอยู่ในวรรณะแพศย์ แต่ในปัจจุบันวรรณศูทร มี มากที่สุดคือ 61% ของอินเดียทั้งหมด และคนพวกนี้ได้แก่พวกคนชั้นกรรมาชีพ โสเภณี และ กรรมกร นอกจากนี้ ยังมีพวกนอกวรรณะ ซึ่งเกิดจากการแต่งงานข้ามวรรณะ เรียกว่า จัณฑาล พวก นี้เป็นที่รังเกียจของทุกวรรณะ การแบ่งวรรณะดังกล่าวคงเกิดจากการแบ่งแยกพวกหมู่ตามเผ่า พันธุ์ด้วย ปราชญ์สันนิษฐานว่าพวกนักบวชและพ่อค้าเผ่าอารยันได้กลายเป็นวรรณะพราหมณ์ กษัตริย์ และแพศย์ พวกทาสของอารยันได้กลายมาเป็นวรรณะศูทร ส่วนพวกเจ้าถิ่นชมพูทวีป แต่เดิม และชนเผ่าล้าหลังอื่น ๆ เป็นพวกนอกวรรณะ และค่อยๆ ถูกจัดรวมเข้าในวรรณะต่ำ ในคัมภีร์มนูธรรมศาสตร์ มีความหมายแสดงไว้ว่าวรรณะพราหมณ์ กษัตริย์ และแพศย์ เป็นอารยะ ส่วนวรรณะศูทรและนอกนั้นเป็นอนารยะ ซึ่งการแบ่งชั้นตามระบบวรรณะของ สังคมฮินดูนี้เป็นเครื่องมือสงวนและจำกัดสิทธิ์ในการประกอบอาชีพ และกิจการทั้งหลาย 52 DOU ศ า ส น ศึ ก ษ า
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More