ข้อความต้นฉบับในหน้า
คำสอนของศาสนาโดยตรง เช่น พระ นักบวช นักพรต ในศาสนาต่าง ๆ
6. ศาสนสถาน ต้องมีศาสนสถานเพื่อประกอบศาสนกิจและศาสนพิธีต่างๆ ศาสนสถาน
ของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ได้แก่ เทวสถาน หรือเทวาลัย ของศาสนาพุทธ ได้แก่ วัด อุโบสถ
ศาลาการเปรียญ วิหาร ศาสนาคริสต์ ได้แก่ โบสถ์ วิหาร ศาสนาอิสลาม ได้แก่ สุเหร่า หรือ
มัสยิด เป็นต้น
7. ศาสนิกชน ต้องมีศาสนิกชนผู้นับถือเลื่อมใสศรัทธาในศาสนานั้น ซึ่งศาสนิกชนดังกล่าว
เหล่านี้ มักเรียกตามชื่อของศาสนาที่ตนนับถือ เช่น ฮินดูชน พุทธศาสนิกชน คริสตศาสนิกชน
อิสลามมิกชนหรือมุสลิม เป็นต้น
8. การกวดขันเรื่องความภักดี ต้องมีการกวดขันเรื่องความภักดีในศาสนา เช่น ศาสนา
พราหมณ์-ฮินดูกวดขันเรื่องการดำเนินชีวิตตามหลักอาศรม 4 ศาสนาพุทธกวดขันเรื่อง
ไตรสรณาคมน์ ศาสนาคริสต์กวดขันเรื่องการไปสวดมนต์ที่โบสถ์ในวันอาทิตย์ ศาสนาอิสลาม
กวดขันเรื่องหลักปฏิบัติหรือหน้าที่ในศาสนา
องค์ประกอบทั้ง 8 ประการนี้ ในบางศาสนาอาจขาดข้อใดข้อหนึ่งไป แต่ก็ยังถือว่าเป็น
ศาสนา เช่น ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ขาดองค์ประกอบข้อที่หนึ่ง คือ ศาสดาไม่ได้มีชีวิตอยู่จริง
ในประวัติศาสตร์ ศาสนาอิสลามขาดองค์ประกอบข้อ 5 คือ ศาสนบุคคล เพราะผู้นับถือศาสนา
อิสลามไม่มีการถือเพศเป็นบรรพชิต คงมีแต่เพศฆราวาสเท่านั้น
1.4 วิวัฒนาการของศาสนา
มนุษย์ไม่ว่ายุคไหนสมัยไหน ต่างก็ต้องการให้ชีวิตมีความสุข ความปลอดภัยและมีชีวิต
ยืนยาว จะทำอะไรทุกอย่างก็เพื่อจุดหมายดังกล่าว อันเป็นที่มาของการนับถือศาสนา โดยมี
วิวัฒนาการมาดังนี้
วิญญาณนิยม
มนุษย์สมัยปฐมบรรพ์ ยังมีประสบการณ์ชีวิตน้อย ยังไม่เจริญด้วยวิชาการทั้ง
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยียังไม่เจริญ จึงคิดและเชื่อไปตามความรู้ของตนเมื่อเห็นสิ่งต่
สิ่งต่างๆ เช่น
ก้อนหินที่มีลักษณะแปลก ๆ หรือมีสีสันพิเศษแตกต่างกว่าปกติก็จะคิดว่ามีสิ่งลี้ลับอยู่ภายใน จึง
ทำให้สิ่งนั้นๆ แปลกประหลาดไป สิ่งลี้ลับนี้เรียกว่า มนะ หรืออำนาจที่ไม่มีตัวตน แต่มีชีวิตจิตใจ
มีพลังวิเศษที่จะบันดาลให้คุณหรือโทษแก่มนุษย์ได้ จึงเกิดการเคารพนับถือมนะขึ้นมา ระยะนี้
ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับศาสนา DOU 9