ข้อความต้นฉบับในหน้า
นอกจากพระพรหมแล้ว ยังมีเทพเจ้าที่เกิดใหม่อีก 2 องค์ คือ พระศิวะ ซึ่งแต่เดิมเป็น
เทพแห่งภูเขา และพระวิษณุ แต่เดิมเป็นเทพแห่งทะเลและมหาสมุทร
3. เป็นผู้สร้างคัมภีร์ใหม่ 2 คัมภีร์ คือ
คัมภีร์อรัณยกะ (บทเรียนในป่า) เป็นคู่มือสำหรับผู้สละเรือนประพฤติพรหมจรรย์ ไปใช้
ชีวิตในป่า เรียกว่า “วานปรัสถ์” บุคคลเหล่านี้มีชีวิตอยู่อย่างโดดเดี่ยวตามลำพังในบรรณศาลา
หรืออาจอยู่รวมเป็นกลุ่มในอาศรม นุ่งห่มด้วยเปลือกไม้หรือหนังสัตว์ ขมวดผม มวยสูง ใช้ชีวิต
ในป่าโดยอาศัยผลไม้และบำเพ็ญตบะด้วยการทรมานร่างกายเพื่อชำระวิญญาณให้บริสุทธิ์ อัน
เป็นวิธีที่เชื่อกันว่าจะช่วยให้เข้าถึงพรหมและมีอิทธิฤทธิ์เหนือเทวดาและมนุษย์ ผู้ที่ประสงค์จะ
บวชเป็นฤๅษีจำเป็นต้องศึกษาความรู้เบื้องต้นก่อนจึงเกิดคัมภีร์อรัณยกะขึ้นมา
คัมภีร์อาถรรพเวท ประกอบด้วยคาถาต่าง ๆ ใช้เสกเป่าทำความอัปมงคลและสร้างสวัสดิ
มงคล คัมภีร์เล่มนี้ต่อมาได้ถูกจัดเป็นคัมภีร์เล่มที่ 4 ต่อจากไตรเพท จุดประสงค์ของการสร้าง
เพื่อปลูกฝังความเลื่อมใสศรัทธาในศาสนาพราหมณ์ให้ลึกซึ้ง เพราะปลายยุคศาสนาพราหมณ์
ต้องเผชิญหน้ากับความรุ่งเรืองของพุทธศาสนาซึ่งเป็นคู่แข่งที่สำคัญ
ผลที่เกิดจากคนในสังคมทำหน้าที่ต่างกันทำให้เกิดการแบ่งชนชั้นวรรณะ โดยพวก
พราหมณ์เป็นผู้ทำหน้าที่นี้ ซึ่งมีทั้งหมด 4 วรรณะ คือ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร และ
พราหมณ์ยังได้สร้างความเชื่อที่ว่าพระพรหมเป็นผู้สร้างมนุษย์ ตลอดจนกำหนดหน้าที่ต่างๆ
ขึ้นมาเพื่อสันติสุขในการอยู่ร่วมกันวรรณะกษัตริย์เป็นวรรณะที่สร้างจากพระพาหาของพระพรหม
วรรณะพราหมณ์สร้างจากพระโอษฐ์ของพระพรหมวรรณะแพศย์สร้างจากพระโสณีของพระพรหม
และวรรณะศูทรสร้างจากพระบาทของพระพรหม สำหรับผู้ที่เกิดนอกวรรณะทั้ง 4 ดังได้กล่าว
มาแล้วนั้นเรียกว่า “วรรณสังกร”
3.1.4 สมัยฮินดูเก่า (ฮินดูแท้)
ในสมัยนี้อินเดียตอนเหนือตกเป็นของชาติอารยันทั้งหมด ภาคเหนือของอินเดียจึงเจริญ
เติบโตและมั่งคั่ง อาณาจักรสำคัญของพวกอารยันในสมัยนี้มี 4 แห่ง คือ แคว้นอวันตี แคว้น
วังสะ แคว้นโกศล และแคว้นมคธ สมัยนี้เป็นสมัยแรกที่กำเนิดปรัชญา ซึ่งถือได้ว่าเป็นแก่นแท้
ของศาสนาพราหมณ์ซึ่งพราหมณาจารย์ทั้งหลายเป็นผู้คิดขึ้น และในช่วงระยะเวลาดังกล่าวนี้
พวก
เองที่ลัทธิศาสนานี้ซึ่งมีชื่อเดิมว่าศาสนาพราหมณ์ได้กลายมาเป็นศาสนาฮินดู
พราหมณาจารย์ได้ช่วยกันปรับปรุงลัทธิของตนจนได้รับความนิยมแพร่หลาย สถานศึกษาของ
54 DOU ศ า ส น ศึกษา