ข้อความต้นฉบับในหน้า
3.1.9 สมัยฟื้นฟู
ในสมัยนี้เป็นช่วงเวลาที่อินเดียถูกศัตรูภายนอกรุกรานอีกครั้งหนึ่ง โดยพวกมุสลิมเชื้อ
สายตุรกีจากอัฟกานิสถาน ซึ่งพยายามบุกรุกเข้ามาทางชายแดนที่จะเข้าสู่ลุ่มแม่น้ำสินธุ แต่
กษัตริย์เชื้อสายฮินดูที่เข้มแข็งพระองค์หนึ่ง สามารถต้านทานไว้ได้ และสถาปนาราชวงศ์ราช
บุตรขึ้นปกครองอินเดียตั้งแต่ภาคตะวันตกมาจนถึงภาคกลาง เป็นเวลานานเกือบ 3 ศตวรรษ
ที่เรียกสมัยนี้ว่าสมัยฟื้นฟู เพราะเป็นสมัยที่พระพุทธศาสนาซึ่งเป็นคู่แข่งสำคัญของ
ศาสนาฮินดูเริ่มเสื่อมสูญจากอินเดีย แต่ศาสนาฮินดูกลับได้รับการอุปถัมภ์ บรรดาเจ้าลัทธิทั้ง
หลายในศาสนาฮินดูพยายามทุกวิถีทางที่จะสร้างความมั่นคงถาวรและเผยแพร่ลัทธิศาสนา
ของตนออกไปให้แพร่หลายมากที่สุด โดยเฉพาะในหมู่คนพื้นเมืองเดิมพร้อมกับพยายาม
กีดกันพระพุทธศาสนาและศาสนาเชนมิให้กลับมาเป็นคู่แข่งได้อีก
ได้แก่
การปรับปรุงและความเปลี่ยนแปลงสำคัญของศาสนาฮินดูที่เกิดขึ้นในสมัยนี้ที่ค
ในสมัยนิทควรทราบ
1. นักปราชญ์และบัณฑิตจำนวนมากได้ร่วมมือกันทำการปรับปรุงแก้ไขคัมภีร์เก่าให้
ชัดเจนเหมาะสม ทันสมัยและสมเหตุสมผลยิ่งขึ้น อาทิเช่น
ท่านกุมาริล ผู้แต่งอรรถกถาแก้คัมภีร์กรรมมางสา หรือปุรวมมางสาของไซมินิ
ท่านสังกราจารย์ ได้แต่งอรรถกถาแก้คัมภีร์เวทานตสูตร และภควัทคีตา เป็นต้น
2. เจ้าลัทธิสำคัญๆ แต่ละลัทธิมีคณาจารย์ที่เป็นกวีแต่งบทสวดอ้อนวอนด้วยคำประพันธ์
(ฉันท์หรือกาพย์) อันไพเราะ เป็นภาษาทมิฬซึ่งเป็นภาษาของคนพื้นเมืองเดิม แล้วออกทำการ
เผยแพร่ลัทธิของตนแก่มหาชนอย่างกว้างขวาง
3. กำเนิดลัทธิความเชื่อใหม่ 2 ลัทธิ คือ ลัทธิศักติ และลัทธิภักดิ์
3.1 ลัทธิศักติ คือ การบูชาเทพเจ้าฝ่ายหญิงที่เป็นชายาของเทพเจ้าที่นับถือสูงสุด
เช่น พระอุมาเทวี ซึ่งเป็นชายาพระศิวะ พระลักษมีเทวี ซึ่งเป็นชายาพระวิษณุ และพระสุรัสวดี
ซึ่งเป็นชายาพระพรหมเพราะเชื่อว่าผู้เป็นชายาของเทพเจ้าเหล่านั้นย่อมได้รับส่วนแบ่งอิทธิฤทธิ์
มาจากพระสวามี ซึ่งอาจบันดาลความสำเร็จในสิ่งที่ตนปรารถนาได้เช่นกัน พิธีบูชาชายา
พระผู้เป็นเจ้าเรียกว่า “บูชาศักติ” มีคัมภีร์ที่กำหนดกฎเกณฑ์ในการทำพิธีเรียกว่า “ตันตระ” ซึ่ง
ประกอบด้วยขั้นตอน 5 ประการ คือ เริ่มต้นด้วยการดื่มน้ำเมา (มัตยะ) บริโภคเนื้อสัตว์สดๆ
(มางสะ) สาธยายมนตร์ปลุกกำหนัด (มนตร์) ร่ายนำด้วยลีลายั่วยวนเร่งเร้าความรู้สึกทางเพศ
64 DOU ศ า ส น ศึกษา