ลัทธิศักติและลัทธิภักติในศาสนาฮินดู DF 404 ศาสนศึกษา หน้า 80
หน้าที่ 80 / 481

สรุปเนื้อหา

บทความนี้สำรวจลัทธิศักติและลัทธิภักติในศาสนาฮินดู เริ่มจากความเชื่อในลัทธิศักติซึ่งมีการบูชาเจ้าแม่และพิธีการที่แสดงถึงความจงรักภักดีต่อพระเจ้า รวมถึงการประดับเทวสถานและการแห่แหนเทวรูปที่ขยายตัวในสมัยนี้ ก่อนจะพูดถึงลัทธิภักติที่เน้นการบูชาพระภควานด้วยความจริงใจ เช่น พระวิษณุ พระกฤษณะ และพระศิวะ นอกจากนี้ยังมีการพูดถึงประเพณีทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับการเผาหญิงม่ายและบทบาทของสตรีในประเพณีนั้น.

หัวข้อประเด็น

-ลัทธิศักติ
-พิธีกรรมในลัทธิศักติ
-ลัทธิภักติ
-การบูชาพระภควาน
-ประเพณีทางสังคมในศาสนาฮินดู

ข้อความต้นฉบับในหน้า

(มุทรา) และจบลงด้วยการร่วมเพศ (ไมถุน) พิธีบูชาตามลัทธิศักตินี้ ทำกันตามเทวาลัยที่นิยมบูชาเจ้าแม่ในเวลาเที่ยงคืน บาง พวกนิยมทำในที่ลับ บางพวกนิยมทำในที่เปิดเผย โดยพิธีกรประจำเทวาลัย ฝ่ายชายเป็นนักบวช เรียกว่า “สาธุ” ฝ่ายหญิง เรียกว่า “เทพทาสี” ลัทธิศักติเริ่มต้นทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย (แถบแคว้นเบงกอล เนปาล และอัสสัม) ซึ่งเป็นเขตที่มีประชากรหลายชาติ เช่น มอญ เขมร พม่า ธิเบต และไทย อาศัยอยู่ 3.2 ลัทธิภักติ คำว่า “ภักติ” ในที่นี้หมายถึงการบูชาพระภควาน คือ พระผู้ควรบูชา ลัทธินี้มีความเชื่อว่า พระเจ้าจะประทานพรแก่ผู้บูชาพระองค์ด้วยการถวายความจงรักภักดีแด่ พระองค์ด้วยความจริงใจเท่านั้น ดังนั้นพิธีกรรมใด ๆ จึงไม่มีความสำคัญเท่าความภักดี ความ ภักดีนี้จะแสดงต่อเทพเจ้าองค์ใดที่ตนนับถือก็ได้ เช่น พระวิษณุ พระกฤษณะ พระราม และพระ ศิวะ ฯลฯ เป็นต้น กฎเกณฑ์ที่ต้องปฏิบัติมี 5 ประการ คือ ศานติ คือ ระลึกถึงพระเจ้าด้วยความสงบ ทาสยะ สาขยะ คือ การมอบกายถวายชีวิตรวมทั้งจิตวิญญาณ คือ การใกล้ชิดกับพระเจ้าเหมือนใกล้ชิดเพื่อน วาต์ศัลยะ คือ การมีความรักเหมือนอย่างเด็กรักมารดา หาธรยะ คือ การมีความรักต่อพระเจ้าเหมือนความรักของหญิงรักกับชายคู่รัก ลัทธิภักติทางใต้มีท่านมาณิกกะเป็นหัวหน้า บูชาพระศิวะซึ่งเรียกว่า “ไศวะนิกาย ส่วนภาคเหนือของอินเดียมีท่านนิมพารกะเป็นหัวหน้าลัทธิภักติซึ่งนับถือพระกฤษณะ และนาง ราธาชายาของพระกฤษณะ 4. มีการก่อสร้างเทวสถานใหญ่โต ประดับประดาอย่างวิจิตร เกิดขึ้นตามนครใหญ่ๆ ทั่วไป การนำเทวรูปออกแห่แหนด้วยกระบวนแห่เริ่มนิยมทำกันในสมัยนี้ อนึ่ง ตอนปลายของสมัยนี้ยังเกิดลัทธิค่านิยมทางสังคม คือ การเผาหญิงม่ายพร้อมศพสามี และยกย่องหญิงที่ทำตามประเพณีนี้ว่าเป็นผู้กล้าหาญ เรียกหญิงนั้นว่า “สติ” หากหญิงใด ไม่ยอมทำตามประเพณีจะถูกญาติขอร้อง แต่ถ้าไม่ทำจะถูกสังคมตราหน้าว่าเป็นคนไม่ดีและ หญิงนั้นต้องถือพรหมจรรย์ตลอดชีวิต ศ า ส น า พ ร า ห ม ณ์ - ฮินดู DOU 65
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More