ข้อความต้นฉบับในหน้า
บทที่ 5
ศาสนาพุทธ
5.1 ประวัติความเป็นมา
ดินแดนอันเป็นแหล่งกำเนิดของศาสนาพุทธนั้น สมัยโบราณเรียกว่า “ชมพูทวีป” ปัจจุบัน
ดินแดนดังกล่าวได้แบ่งแยกออกเป็นหลายประเทศ คือ อินเดีย ปากีสถาน บังกลาเทศ ภูฏาน
และเนปาล ศาสดาของศาสนาพุทธ คือ เจ้าชายสิทธัตถะ ซึ่งภายหลังทรงมีพระนามเป็นที่รู้จัก
กันดีทั่วไปว่า “พระพุทธเจ้า” ทรงถือกำเนิด ณ ดินแดนซึ่งอยู่ทางภาคเหนือสุดของชมพูทวีป
แถบบริเวณ เชิงเขาหิมาลัย ปัจจุบันดินแดนแห่งนั้นอยู่ในเขตประเทศเนปาล
คนพื้นเมืองเดิมที่อยู่ในชมพูทวีปคือพวกมิลักขะ (Dravidian) พวกที่อพยพเข้าอยู่ภายหลัง
พวกแรก ได้แก่ ชนเผ่าอารยันซึ่งเรียกว่า “อริยกะ” พวกอริยกะ (เดิมเป็นพวกร่อนเร่) เป็น
พวกนักรบ มีความเจริญมากกว่า ทำสงครามชนะพวกพื้นเมืองเดิมแล้วเข้ายึดครองดินแดนที่
เป็นแหล่งอุดมสมบูรณ์และตั้งถิ่นฐานเริ่มจากบริเวณลุ่มแม่น้ำสินธุ แล้วขยายตัวไปทางตะวัน
ออกสู่ลุ่มแม่น้ำคงคา พวกพื้นเมืองซึ่งสู้ไม่ได้ บางส่วนยอมอยู่ใต้อำนาจการปกครอง บางส่วน
อพยพลงใต้ ชมพูทวีปสมัยก่อนพุทธกาล จึงแบ่งเป็น 2 เขต คือ
(1) บริเวณตอนใน (ใจกลาง) ซึ่งเป็นแหล่งอุดมสมบูรณ์ เป็นที่อยู่ของพวกอริยกะ เรียก
ว่า “มัธยมประเทศ” หรือ “มัชฌิมชนบท” อยู่ทางตอนเหนือ
(2) บริเวณรอบนอก (ชายแดน) เป็นที่อยู่ของพวกมิลักขะ เรียกว่า “ปัจจันตชนบท”
อยู่ทางตอนใต้
มัชฌิมชนบทสมัยโบราณเป็นเขตเจริญ เป็นศูนย์กลางการปกครองของพวกอริยกะ เป็น
ที่รวมของผู้มีวิชาความรู้และเป็นที่ตั้งของนครใหญ่ๆ 16 แคว้น คือ แคว้นอังคะ มคธ กาสี โกศล
วัชชี มัลละ เจดี วังสะ กุรุ ปัญจาละ มัจฉะ สุรเสนะ อัสสกะ อวันตี คันธาระและแคว้นกัมโพชะ
นอกจากนี้ ยังมีแคว้นเล็กอีกหลายแคว้น เช่น แคว้นสักกะ โกลิยะ ภัคคะ วิเทหะและแคว้น
อังคุตตราปะ ฯลฯ เป็นต้น
ดนัย ไชยโยธา, ประวัติศาสตร์เอเชียใต้ยุคโบราณ, 2527 หน้า 44-45.
ศาสนา พุทธ
DOU 121