ชีวประวัติของอับดุลบาฮา DF 404 ศาสนศึกษา หน้า 465
หน้าที่ 465 / 481

สรุปเนื้อหา

เนื้อหานี้นำเสนอชีวิตในวัยชราของอับดุลบาฮา ผู้แทนของพระบาฮาอุลลาห์ ผู้ที่ใช้ชีวิตอย่างสงบสุขจนถึงวาระสุดท้าย โดยได้มีการสร้างสวนดอกไม้ที่บาห์จี หลังจากสิ้นชีวิต ลูกชายของท่านได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้แทน และมีบทบาทสำคัญในการเผยแพร่คำสอนของบิดาแม้ต้องเผชิญกับความยากลำบากและการถูกขังในคุก จนกระทั่งได้รับอิสรภาพและเดินทางไปเผยแพร่ศาสนาในต่างประเทศ รวมถึงอังกฤษและสหรัฐอเมริกา

หัวข้อประเด็น

-ชีวิตของอับดุลบาฮา
-บทบาทในศาสนาบาไฮ
-ประวัติความเป็นมาของสวนริสวาน
-การถูกคุมขังและการเผยแพร่ศาสนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

อย่างไรก็ตามในบั้นปลายชีวิตของศาสดาท่านนี้ ท่านได้พักที่บาห์จี ผู้เลื่อมใสศรัทธาได้ ช่วยกันสร้างสวนดอกไม้และให้ชื่อว่า ริสวาน ซึ่งท่านได้ใช้เวลาหลายวันในการพักผ่อน ณ ที่แห่งนี้ ชีวิตในวัยชราของท่านดำเนินไปอย่างง่ายๆ และสงบสุข ท่านสิ้นชีพเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1892 รวมอายุ 75 ปี ศพของท่านฝังที่บาห์จี ตั้งแต่นั้นมาบา ตั้งแต่นั้นมาบาไฮได้ซื้อสถานที่นี้และบริเวณรอบๆ ตกแต่งให้งดงามและเป็นสถูปศักดิ์สิทธิ์ที่สุดสำหรับบาไฮ บาไฮผู้แสวงบุญจากทั่วโลกจะเดิน ทางมาเยือนสถูปนี้ หลังจากสิ้นชีวิต ลูกชายคนแรกที่ชื่อ อับบาส เอฟเฟนดิ (Abbas Effendi) หรือที่รู้จัก กันในนามอับดุลบาฮา (Abdul-Baha) ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้แทนของบิดามีหน้าที่อธิบาย และชี้แจงคำสั่งสอน ซึ่งทุกคนที่นับถือศาสนาบาไฮจะต้องเชื่อฟังและปฏิบัติตาม ท่านจึงได้รับ การยกย่องให้เป็นศูนย์กลางแห่งพระปริญญา อับดุลบาฮาเกิดที่กรุงเตหะรานเมืองหลวงของประเทศอิหร่าน ในวันที่ 23 พฤษภาคม ค.ศ. 1844 เป็นบุตรชายคนแรกของพระบาฮาอุลลาห์ เป็นผู้มีความกตัญญู มีจิตใจเมตตา และมี ความฉลาดเป็นอย่างมาก สามารถอธิบายธรรมะได้อย่างแตกฉานหลายครั้ง ท่านได้ช่วยพระ บาฮาอุลลาห์ในการตอบปัญหายุ่งยากใจของแขกที่มาเยือน และชอบถกเถียงปัญหาศาสนากับ พวกนักปราชญ์ในสุเหร่าอิสลามจนเป็นที่ยกย่องของบุคคลทั้งหลายและเรียกท่านว่าท่านอาจารย์ ทั้งที่ตัวท่านไม่เคยเข้าศึกษาในโรงเรียนมาก่อน อับดุล บาฮาแต่งงานกับมนีเรห์ คาโนม มีบุตรหลายคน แต่มีบุตรสาวเพียง 4 คนเท่านั้น ที่มีชีวิตทนต่อการจำคุกอันยาวนานและทุกข์ยากได้ ชีวิตของอับดุล บาฮาได้รับความยาก ลำบากไม่น้อยกว่าบิดาของท่าน เพราะความริษยาของผู้ที่ต้องการทำลายท่าน ทำให้ท่านถูก รัฐบาลตุรกีจับกุมในข้อหาปฏิวัติล้มล้างรัฐบาลตุรกี การถูกจับขังคุกนี้ไม่ได้ทำให้ท่านทุกข์ร้อนแต่อย่างใด กลับใช้เวลาในคุกตอบจดหมายถึง ผู้เลื่อมใสศรัทธาจากทั่วโลก และใช้เวลาเยี่ยมเยือนผู้เจ็บป่วยตามบ้านของเขาเหล่านั้น อันเป็น ย่านที่มีคนจนมากที่สุดในเมืองอัคคา ในที่สุดท่านได้รับอิสรภาพเพราะพวกปฏิวัติรัฐบาลได้รับ ชัยชนะจึงได้ปลดปล่อยนักโทษศาสนาทั้งหมดให้เป็นอิสระ ท่านได้มีโอกาสไปเผยแพร่ศาสนา ในต่างประเทศ เริ่มจากประเทศอังกฤษ ท่านได้พำนักที่ลอนดอนและแสดงปาฐกถา อีกทั้ง พบปะสนทนากับผู้ที่สนใจที่มาติดต่อทุกวัน จากนั้นได้เดินทางไปทั่วสหรัฐอเมริกาจากฝั่ง แอตแลนติกจดฝั่งแปซิฟิก และเดินทางต่อไปยังยุโรปและอียิปต์ กลับถึงเมืองไฮฟา (Haifa) ประเทศอิสราเอล เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม ค.ศ.1913 450 DOU ศาสนศึกษา
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More