อริยสัจ 4: ความจริงอันประเสริฐในศาสนาพุทธ DF 404 ศาสนศึกษา หน้า 167
หน้าที่ 167 / 481

สรุปเนื้อหา

อริยสัจหมายถึงความจริงอันประเสริฐของพระอริยบุคคล ซึ่งสำคัญต่อการเข้าใจธรรมชาติของชีวิต โดยมีหลักความทุกข์เป็นพื้นฐานที่แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ สภาวทุกข์และปกิณกกทุกข์ อริยสัจ 4 เป็นการค้นพบที่สำคัญของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ช่วยให้มนุษย์เข้าใจปัญหาชีวิต และเจอวิธีในการแก้ไขความทุกข์จากความไม่เข้าใจในความจริงและการยึดติดกับร่างกาย เห็นชัดว่าความทุกข์เป็นสิ่งที่ต้องเรียนรู้และเข้าใจเพื่อหาทางแก้ไข โดยเน้นว่าความทุกข์มีอยู่จริงและต้องยอมรับเพื่อที่จะไม่ตกอยู่ในความประมาท.

หัวข้อประเด็น

-อริยสัจ
-ความทุกข์
-พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
-การเรียนรู้ความจริง
-การแก้ไขปัญหา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

5.4.4 อริยสัจ 4' อริยสัจ แปลว่า ความจริงอันประเสริฐหรือความจริงของพระอริยบุคคล เพราะ ผู้ใดรู้อริยสัจด้วยญาณ ผู้นั้นก็กลายเป็นผู้ประเสริฐหรือพระอริยบุคคลทันที อริยสัจจึงเป็นหัวใจ ของศาสนาพุทธเป็นความจริงขั้นสูงสุดที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงค้นพบ หรือตรัสรู้มี 4 ประการ ดังต่อไปนี้ 1. ทุกข์ หรือ ทุกขอริยสัจ แปลว่า สภาพที่ทนได้ยากทั้งทางกายและทางใจ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงรู้แจ้งในความจริง อันได้แก่ ทุกข์ และทุกข์อันเป็นความจริงนี้หมาย ถึงสภาพที่ทนได้ยากทางกายเรียกว่า ทุกข์กาย และสภาพที่ทนได้ยากทางใจเรียกว่า ทุกข์ใจ ทุกข์ตามความหมายนี้แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังต่อไปนี้ 1) สภาวทุกข์ คือ ทุกข์โดยสภาพ อันได้แก่ ทุกข์ประจำสังขาร 3 อย่าง คือ ทุกข์ คือความเกิด ทุกข์คือความแก่ และทุกข์คือความตาย 2) ปกิณกกทุกข์ คือ ทุกข์เบ็ดเตล็ดหรือทุกข์จร อันได้แก่ ทุกข์ที่เกิดมีขึ้นภายหลัง มี 8 อย่าง คือ ความเศร้าโศก ความคร่ำครวญ ความไม่สบาย ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจ ความพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก ความประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รัก และความไม่สมปรารถนา ผู้ศึกษาอาจสังเกต สภาวทุกข์ และปกิณกกทุกข์ ได้ว่า กระบวนการแห่งชีวิตต้อง เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา ทั้งทางกายภาพ อันได้แก่ ความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย และทางจิตภาพ อันได้แก่ ความเศร้าโศก ความคับแค้นใจ ความพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก ความไม่สมปรารถนา เป็นต้น ล้วนก่อให้เกิดความทุกข์ในรูปแบบต่าง ๆ กล่าวโดยสรุปว่าภาวะ ที่จิตหลงผิดไม่เข้าใจความจริงตามสภาวะธรรม จึงยึดติดร่างกายและความคิดต่าง ๆ นั่นคือ ความทุกข์ ศาสนาพุทธสอนให้มองโลกตามความเป็นจริงว่า โลกที่เราเห็นอยู่นี้เป็นความจริง อย่างนี้ ชีวิตมนุษย์มีความเป็นจริงอย่างนี้ หากเราไม่ยอมรับความจริงที่ปรากฏอยู่เราจะแก้ ปัญหาไม่ถูกจุด และแก้ไม่ได้ตลอดกาล ศาสนาพุทธสอนว่า ความทุกข์เป็นสิ่งที่พึงจะเรียนรู้และทำความเข้าใจเพื่อหาทางแก้ พระพุทธเจ้าได้ทรงชี้แจงให้เห็นว่า มนุษย์กำลังป่วย ถ้ามนุษย์เข้าใจผิดคิดว่าตนไม่ป่วย อาการ อาจจะหนักขึ้นเรื่อย ๆ เพราะความประมาทจนถึงแก่ชีวิต ถ้ามนุษย์เข้าใจผิดคิดว่าอาการป่วย 1 หน้า 528. มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม 19. อริยสัจ 4, 2539 152 DOU ศ า ส น ศึกษา
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More