ข้อความต้นฉบับในหน้า
1. การนำอาตมันเข้าสู่ปรมาตมัน ด้วยการปฏิบัติธรรมใด ๆ เพื่อให้วิญญาณของตน
เข้ารวมกับปฐมวิญญาณ เรียกว่า “เข้าถึงโมกษะ” คือความหลุดพ้นจากวัฏสงสารแห่งชีวิต
2. วิธีปฏิบัติเพื่อเข้าถึงโมกษะ ได้เสนอแนะหลักปฏิบัติที่สำคัญไว้ 3 ประการ คือ
กรรมมรรค (กรรมโยคะ) ชยานมรรค (ชยานโมคะ) และ ภักติมรรค (ภักติโยคะ)
3.5 ตรีมูรติในศาสนาฮินดู
ยุคพระเวทตอนปลายและยุคมหากาพย์ตอนต้น อยู่ในช่วงศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสต์
ศักราชถึงคริสต์ศตวรรษที่ 4 พวกพราหมณ์มีบทบาทมากในสังคม ได้กลายเป็นชนชั้นอภิสิทธิ์
เป็นผู้วิเศษและมีอิทธิพลมากในวงการต่างๆ ศาสนาในยุคพระเวทเรียกว่า ศาสนาพราหมณ์ ครั้น
เวลาล่วงมาถึงยุคพระเวทตอนปลาย ศาสนาพราหมณ์ได้มีการปฏิรูปเกิดแนวความคิดด้าน
ปรัชญามีเหตุมีผลมากขึ้น และเวลาต่อมา ศาสนาพราหมณ์เรียกว่า ศาสนาฮินดู
ศาสนาในยุคมหากาพย์ได้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก เทพเจ้าที่สำคัญในยุคมหากาพย์
ได้แก่ พระพรหม พระศิวะ และพระนารายณ์ เทพเจ้าทั้ง 3 องค์นี้รวมเรียกว่า ตรีมูรติ” และ
หน้าที่ของเทพเจ้าแต่ละองค์มีดังต่อไปนี้
3.5.1 พระพรหม พระพรหมเป็นผู้สร้างมนุษย์และสรรพสิ่งทั้งหลายในโลก รวมทั้ง
เทวดาทั้งหลายด้วย ลักษณะพระพรหมในระยะแรกไม่มีตัวตน แต่ครั้นเวลาต่อมา พวก
พราหมณ์ได้พบข้อบกพร่องต่างๆ เมื่อพระพรหมไม่มีตัวตน ประชาชนเคารพบูชาไม่ได้ พวก
พราหมณ์จึงได้กำหนดให้พระพรหมมีตัวตน มี 4 พักตร์ สามารถมองดูได้ทั่วทิศ ลักษณะของ
พระพรหมเป็นทั้งนามธรรมและรูปธรรม พระพรหมที่มีลักษณะเป็นนามธรรมนั้นหมายถึง
จักรวาล เป็นวิญญาณของธรรมชาติ ดิน น้ำ ลม ไฟ อากาศ ท้องฟ้า เป็นต้น สิ่งเหล่านี้คือ
ร่างกายของพระพรหม พระพรหมสิงสถิตในสิ่งเหล่านี้ พระพรหมเป็นอันติมสัจจะที่ไม่อาจ
อธิบายได้ เป็นสิ่งที่ไม่อาจวัดได้ เป็นพื้นฐานความรู้ทั้งปวง ไม่หยาบ ไม่ละเอียด ไม่สั้นไม่ยาว
ปราศจากกลิ่น แสง เสียง เทศะ เป็นต้น ส่วนพระพรหมที่เป็นรูปธรรมเป็นเทพเจ้าผู้ยิ่งใหญ่ เป็น
ผู้สร้าง พระพรหมมีพระชายาชื่อพระสรัสวดี ซึ่งเป็นเทพีแห่งวาจาและการศึกษาเล่าเรียน และ
เป็นผู้อุปถัมภ์ศิลปะวิทยาทั้งปวง
1 ดนัย ไชยโยธา, ประวัติศาสตร์เอเชียใต้ยุคโบราณ, 2527 หน้า 19.
ศ า ส น า พ ร า ห ม ณ์ - ฮินดู
DOU 77