การตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า DF 404 ศาสนศึกษา หน้า 151
หน้าที่ 151 / 481

สรุปเนื้อหา

บทความนี้นำเสนอรายละเอียดเกี่ยวกับการตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่เกิดขึ้นในช่วงต่างๆ ในคืนแรก โดยบรรยายถึงการบรรลุปุพเพนิวาสานุสสติญาณ การรู้แจ้งเกี่ยวกับการเกิดและตายของสัตว์โลก และการตัดสินใจโปรดสัตว์ของพระองค์หลังจากตรัสรู้ กล่าวถึงแนวคิดเกี่ยวกับความหลุดพ้นจากกิเลส ผ่านการเปรียบเทียบการเจริญเติบโตของดอกบัวที่แตกต่างกัน เป็นการแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างของสัตว์โลก และการที่พระองค์มีความเมตตาในการสอนธรรมะให้ ผู้อื่นได้มีโอกาสเข้าใจและเข้าถึงธรรมะได้

หัวข้อประเด็น

-การตรัสรู้
-อริยสัจสี่
-ปฏิจจสมุปบาท
-การโปรดสัตว์
-ความหลุดพ้นจากกิเลส

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ยามที่ 1 (18.00 น. – 22.00 น.) ทรงบรรลุปุพเพนิวาสานุสสติญาณ คือ รู้และ เข้าใจชาติหนหลังของพระองค์ได้อย่างแจ่มแจ้ง ทั้งทรงรู้แจ้งการกำเนิดและเรื่องของชีวิต ยามที่ 2 (22.00 น. – 02.00 น.) ทรงบรรลุจุตูปปาตญาณ คือ ทรงรู้และเข้าใจ เหตุที่สัตว์โลกต้องเกิดและตายมีสภาพที่แตกต่างกัน ยามที่ 3 (02.00 น. - 06.00 น.) ทรงบรรลุอาสวักขยญาณ คือ ความรู้และ ความเข้าใจอันเป็นเหตุที่ทำให้สิ้นอาสวกิเลสทั้งหลาย คือ ทรงทราบว่าการที่ขันธ์มาประชุมกัน ขึ้นเป็นตัวเราตัวเขานี้ ก็เพราะความโง่ (อวิชชา) ความต้องการ ความปรารถนาไม่มีที่สิ้นสุด (ตัณหา) ความยึดมั่น ถือมั่น (อุปาทาน) และการกระทำของเรา (กรรม) นั่นเอง ทั้งหมดนี้ ล้วนแต่เป็นเหตุและผลของกันและกันเสมือนสายโซ่ เรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท หรือจะกล่าวอีก อย่างหนึ่งว่า พระองค์ตรัสรู้อริยสัจสี่ อันได้แก่ ทุกข์ สมุทัย (เหตุที่ทำให้เกิดทุกข์) นิโรธ (ความดับทุกข์) และมรรค (ทางที่จะนำไปสู่ความดับทุกข์) เมื่อทรงรู้อย่างนี้แล้วจิตของ พระองค์ก็พ้นจากอาสวกิเลสทั้งปวง ไม่ยึดมั่นถือมั่นอีกต่อไป ในรุ่งอรุณของคืนนั้นพระองค์ก็ ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า (คือ ผู้ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบธรรม) 5.2.7 ทรงพระดำริที่จะโปรดสัตว์ เมื่อพระองค์ได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ก็ทรงเสวยวิมุตติสุข คือ ความ สุขอันเกิดจากความหลุดพ้นจากกิเลสเป็นเวลา 49 วัน (7 สัปดาห์) แล้วได้เสด็จกลับไปยัง ต้นอชปาลนิโครธ ในราตรีนั้นทรงพระราชดำริว่า พระธรรมที่พระองค์ได้ตรัสรู้นั้นเป็นสิ่งที่ลึกซึ้ง ยากที่คนธรรมดาจะรู้และเข้าใจและปฏิบัติตามพระองค์ได้ ทรงมีพระทัยท้อถอยไม่คิดจะสั่ง สอนผู้อื่นต่อไป แต่เพราะพระเมตตาพระกรุณาที่มีอยู่ในพระหฤทัยเป็นนิจนั่นเอง ได้เตือน พระองค์เองว่า ถ้าพระองค์จะไม่ทรงสั่งสอน สัตว์ทั้งปวงก็จักฉิบหายสิ้น จึงทรงกลับพระทัยคิด จะสั่งสอนสัตว์ต่อไป โดยทรงพิจารณาเห็นว่าสัตว์ทั้งหลายมีสติปัญญาอ่อนและแก่กล้าไม่ เหมือนกัน ประดุจดอกบัว บางดอกเพิ่งออกจากเหง้ายังจมอยู่ใต้น้ำที่ดินที่เลนอยู่ บางดอกก็ งอกมีก้านเจริญขึ้นแล้วแต่ยังอยู่ภายในน้ำ บางดอกก็เจริญขึ้นมาพอเสมอน้ำ และบางดอกก็ โผล่ขึ้นมาพ้นน้ำ พอพระอาทิตย์ฉายแสงก็จะบานทันที สัตว์โลกทั้งหลายก็มีอุปมาเหมือนดอกบัว ฉะนั้นบางคนก็มีปัญญาเฉียบแหลม สอนเพียงครั้งเดียวก็จะเข้าใจได้แจ่มแจ้ง เปรียบประดุจ ดอกบัวที่อยู่พ้นน้ำคอยแสงแดดอยู่ฉะนั้น บางคนก็มีสติปัญญาอยู่ในเกณฑ์ดี พอแนะนำให้ ตรัสรู้ได้โดยง่าย แม้จะต้องสอนกันถึง 2-3 ครั้งก็ตาม ย่อมเป็นเสมือนดอกบัวที่อยู่เสมอผิวน้ำ อีก 2-3 วันก็จะบานฉะนั้น บางคนแม้จะไม่ถึงกับจะตรัสรู้มรรคผลได้ แต่ก็อยู่ในเกณฑ์ที่จะ 136 DOU ศ า ส น ศึ ก ษ า
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More