ศาสนาพุทธ: ประวัติและหลักคำสอน DF 404 ศาสนศึกษา หน้า 135
หน้าที่ 135 / 481

สรุปเนื้อหา

ศาสนาพุทธเกิดที่ประเทศอินเดียก่อนพุทธศักราช 45 ปี โดยมีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นศาสดา มีหลักคำสอนสำคัญ เช่น พระรัตนตรัย อริยสัจ 4 และมรรคมีองค์ 8 จุดหมายสูงสุดคือ นิพพาน ศาสนาพุทธมีนิกายสำคัญสองนิกายคือ เถรวาท และมหายาน ถูกยอมรับในประเทศแถบเอเชีย โดยเฉพาะในประเทศไทยที่มีผู้ติดตามมากมาย นอกจากนี้ยังมีพิธีกรรมและวันสำคัญในศาสนา สัญลักษณ์ต่างๆ และสถานะปัจจุบันของศาสนาอีกด้วย ทำให้นักศึกษาได้เห็นภาพรวมทางศาสนาในศาสนาพุทธได้อย่างชัดเจนและถูกต้อง ทางเว็บไซต์ dmc.tv นำเสนอข้อมูลเพื่อวัตถุประสงค์นี้.

หัวข้อประเด็น

-ประวัติศาสนาพุทธ
-หลักคำสอนในศาสนาพุทธ
-นิกายหลักในศาสนาพุทธ
-พิธีกรรมและวันสำคัญทางศาสนา
-สถานการณ์ปัจจุบันของศาสนาพุทธ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

แนวคิด 1. ศาสนาพุทธเกิดที่ประเทศอินเดีย ก่อนพุทธศักราช 45 ปี โดยเกิดหลังศาสนา พราหมณ์ประมาณ 600 ปี ก่อนศาสนาคริสต์ 543 ปี ก่อนศาสนาอิสลาม 1,124 ปี ศาสดา เอกของศาสนาพุทธ คือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า 2. มีหลักคำสอนที่สำคัญ คือ พระรัตนตรัย หลักสัมมาทิฏฐิ ไตรลักษณ์ อริยสัจ 4 มรรค มีองค์ 8 และนิพพาน ศาสนาพุทธมีจุดหมายปลายทางสูงสุดของชีวิต อันเป็นความสงบสุข อย่างนิรันดรและอย่างแท้จริง คือ นิพพาน วิธีการที่จะบรรลุจุดหมายสูงสุดของชีวิตได้นั้นต้อง ปฏิบัติตามอริยมรรคมีองค์ 8 ชาวพุทธเชื่อว่าชีวิตในโลกนี้มีหลายครั้งยังต้องเวียนว่ายตายเกิด อยู่เรื่อยไปตราบที่ยังไม่สิ้นกิเลส 3. ศาสนาพุทธมีนิกายที่สำคัญอยู่ 2 นิกาย คือ นิกายเถรวาท กับนิกายอาจริยาวาท หรือ มหายาน ส่วนสัญลักษณ์ในศาสนาพุทธโดยทั่วไปมีดังนี้ คือ ธรรมจักร พระพุทธรูป รอย พระพุทธบาท และใบโพธิ์หรือต้นโพธิ์ 4. ปัจจุบันศาสนาพุทธเจริญรุ่งเรืองอยู่ในประเทศแถบเอเชีย จนได้นามว่าประทีปแห่ง ทวีปเอเชีย โดยเฉพาะประเทศไทย ได้ชื่อว่าเป็นศูนย์กลางของพระพุทธศาสนา เพราะชาวไทย กว่า 90% เป็นพุทธศาสนิกชน ศาสนาพุทธได้แผ่ขยายไปสู่ประเทศต่างๆ ทำให้มีจำนวนพุทธ ศาสนิกชนทั่วโลก เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้นักศึกษาได้มองเห็นภาพรวมประเด็นที่เป็นสาระสำคัญทางศาสนาของศาสนา พุทธได้อย่างสมบูรณ์ 2. เพื่อให้นักศึกษาสามารถถ่ายทอดเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของศาสนา ประวัติศาสดา คัมภีร์สำคัญในศาสนา หลักคำสอนที่สำคัญในศาสนา หลักความเชื่อและจุดหมายสูงสุดใน ศาสนาของศาสนาพุทธได้อย่างถูกต้อง 3. เพื่อให้นักศึกษาสามารถถ่ายทอดเกี่ยวกับพิธีกรรมและวันสำคัญทางศาสนา นิกายใน ศาสนา สัญลักษณ์ของศาสนา และฐานะปัจจุบันในศาสนาของศาสนาพุทธได้อย่างถูกต้อง 120 DOU ศ า ส น ศึ ก ษ า
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More